M.A. Program in Population and Social Research (Thai Program)

ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิจัยประชากรและสังคม (หลักสูตรไทย)

สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล เริ่มเปิดการเรียนการสอนของหลักสูตรครั้งแรกเมื่อปีการศึกษา 2521 โดยมุ่งมั่นที่จะผลิตมหาบัณฑิตที่มีความรู้ด้านประชากรและสังคม สามารถวิเคราะห์ สังเคราะห์ และใช้ประโยชน์จากข้อมูลทางประชากรและสังคมที่ทันต่อสถานการณ์สังคมไทยและสังคมโลก อย่างมีคุณธรรม และจริยธรรมทางวิชาการและวิชาชีพ มหาบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาจากหลักสูตรนี้ สามารถทำงานในตำแหน่งนักวิจัย นักวิชาการ นักวิเคราะห์นโยบายและแผน และนักพัฒนาสังคม พร้อมทั้งยังมีโอกาสในการศึกษาต่อในหลักสูตรปรัชาญาดุษฏีบัณฑิต สาขาวิชาวิจัยประชากรและสังคม สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล

ภาพรวมหลักสูตร

Program Learning Outcomes (PLOs)

1.

เข้าใจสาระสำคัญทางด้านการวิจัยประชากรและสังคม ทั้งแนวคิด ทฤษฎี และระเบียบวิธีวิจัย 

2.

แสดงให้เห็นถึงทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่นอย่างมีภาวะผู้นำ มีความรับผิดชอบ มีมนุษยสัมพันธ์ และรับฟังความคิดเห็นที่แตกต่าง

3.

วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหาและตัวเลขทางด้านประชากรและสังคม รวมทั้งใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการทำวิจัยและสื่อสารทางวิชาการได้อย่างเหมาะสม

4.

ผลิตงานวิจัยโดยใช้ความรู้ทางด้านประชากรและสังคมและระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์อย่างมีคุณธรรมและจริยธรรมทางวิชาการและวิชาชีพ

จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร ไม่น้อยกว่า 36 หน่วยกิต

โครงสร้างหลักสูตร
จัดการศึกษาตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการเรื่อง เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2558 หลักสูตรปริญญาโท แผน ก แบบ ก 2 ดังนี้
(๑) หมวดวิชาบังคับ 15 หน่วยกิต
(๒) หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า 9 หน่วยกิต
(๓) วิทยานิพนธ์ 12 หน่วยกิต
รวมไม่น้อยกว่า 36 หน่วยกิต

รายวิชาในหลักสูตร

(๑) หมวดวิชาบังคับ 15 หน่วยกิต

วจปส ๕๕๗ สถิติเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์
PRPR 557 Statistics for Social Science Research
วจปส ๖๒๙ สัมมนาทางการวิจัยประชากรและสังคม
PRPR 629 Seminar in Population and Social Research
วจปส ๖๔๐ สารัตถประชากรศาสตร์และเทคนิคการวิเคราะห์
PRPR 640 Substantive Demography and Analytical Techniques
วจปส ๖๔๑ การวิจัยเชิงปริมาณและการปฏิบัติ
PRPR 641 Quantitative Research and Practicum
วจปส ๖๔๒ การวิจัยเชิงคุณภาพและการปฏิบัติ
PRPR 642 Qualitative Research and Practicum

(๒) หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า 9 หน่วยกิต

วจปส ๕๒๓ พฤฒิวิทยาเชิงสังคม
PRPR 523 Social Studies of Aging
วจปส ๕๕๘ สถิติเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ขั้นสูง
PRPR 558 Advanced Statistics for Social Science Research
วจปส ๕๗๒ ภูมิภาคศึกษา
PRPR 572 Regional Studies
วจปส ๕๗๖ เพศภาวะ เพศวิถี และอนามัยเจริญพันธุ์
PRPR 576 Gender, Sexuality and Reproductive Health
วจปส ๕๘๐ ระบบภูมิสารสนเทศทางสังคมและสุขภาพ
PRPR 580 Social and Health Geographic Information Systems
วจปส ๕๘๕ เศรษฐศาสตร์ประชากรและแรงงาน
PRPR 585 Population and Labour Economics
วจปส ๖๒๔ มานุษยนิเวศน์วิทยา
PRPR 624 Human Ecology
วจปส ๖๔๓ ทฤษฎีสังคมและการประยุกต์
PRPR 643 Social Theory and Application
วจปส ๖๔๔ นโยบายประชากรและสังคมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน
PRPR 644 Population and Social Policy for Sustainable Development
วจปส ๖๔๕ ประชากรศาสตร์สุขภาพในโลกแห่งการเปลี่ยนแปลงพลิกผัน
PRPR 645 Health Demography in the Disruptive World
วจปส ๖๔๖ รุ่นประชากรศึกษา และผลกระทบ
PRPR 646 Generational Studies and Implication
วจปส ๖๔๗ การติดตามและการประเมินผลนโยบายและชุดโครงการ
PRPR 647 Monitoring and Evaluation of Policies and Programs
วจปส ๖๔๘ การจัดการและการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์
PRPR 648 Data Management and Analysis for Social Science Research
วจปส ๖๔๙ ประชากรศาสตร์เพื่อการตัดสินใจทางธุรกิจ
PRPR 649 Demography for Business Decisions
วจปส ๖๕๐ นวัตกรรมและการพัฒนาประชากร
PRPR 650 Innovation and Population Development

ผู้ที่เข้าศึกษาในหลักสูตรนี้ จะต้องลงทะเบียนเรียนรายวิชา 24 หน่วยกิต  และวิทยานิพนธ์ 12 หน่วยกิต  พร้อมทั้งมีหลักเกณฑ์ในการสำเร็จการศึกษาตามเกณฑ์ของบัณฑิตวิทยาลัย  มหาวิทยาลัยมหิดล ดังนี้
1. นักศึกษามีระยะเวลาศึกษาและทำวิทยานิพนธ์ตามหลักสูตร ไม่เกิน 5 ปี
2. ลงทะเบียนเรียนรายวิชาไม่เกิน 15 หน่วยกิต ต่อภาคการศึกษา
3. ผ่านการสอบประมวลความรู้ (Comprehensive Examination)
4. ได้เกรดเฉลี่ยไม่น้อยกว่า 3.00
5. ผ่านการสอบวิทยานิพนธ์

ค่าหน่วยกิตและค่าธรรมเนียมตลอดหลักสูตร (2 ปี)  101,000 บาท โดยผู้ที่เข้าศึกษาในหลักสูตร จะต้องเสียค่าหน่วยกิตและค่าธรรมเนียมการศึกษาดังรายการต่อไปนี้

1. ค่าหน่วยกิต หน่วยกิตละ1,800 บาท
2. ค่าธรรมเนียมการศึกษา 
– ค่าบำรุงการศึกษา   
ภาคการศึกษาที่ 16,300 บาท
ภาคการศึกษาที่ 25,600 บาท
– ค่ากิจกรรมนักศึกษา ภาคละ 250 บาท
– ค่าบำรุงบัณฑิตวิทยาลัย ภาคละ750 บาท
– ค่าบริการ Internet ภาคละ   300 บาท
3. ค่าธรรมเนียมการฝึกภาคสนาม 2 วิชา10,800 บาท
4. ค่าลงทะเบียนวิทยานิพนธ์     18,000 บาท

การดําเนินการหลักสูตร

วัน–เวลาในการดําเนินการเรียนการสอน
จัดการเรียนการสอนในวัน-เวลาราชการ

(๑)  หมวดวิชาบังคับ  
วจปส ๕๕๗  สถิติเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์           
หน่วยกิต ๓ (๒-๒-๕)                                          
ความรู้พื้นฐานทางสถิติ สถิติกับการวิจัยทางสังคมศาสตร์ สถิติเชิงพรรณนา สถิติเชิงอนุมานทั้งสถิติแบบพาราเมตริก และสถิติแบบนอนพาราเมตริก การทดสอบสมมติฐาน การทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ย การทดสอบความสัมพันธ์ การใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติและการแปลผล การเลือกใช้สถิติที่เหมาะสมในการวิเคราะห์ข้อมูล ประเด็นทางจริยธรรมในการใช้สถิติ

PRPR  557   Statistics for Social Science Research
Fundamental knowledge on statistics; statistics and social science research; descriptive statistics; inferential statistics, including parametric and non-parametric statistics; hypothesis testing; means differences testing; association testing; using statistical packages and interpreting the results; choosing appropriate statistics for data analysis; ethical issues in using statistics
วจปส  ๖๒๙  สัมมนาทางการวิจัยประชากรและสังคม     
หน่วยกิต ๓ (๓-๐-๖)                              
ประเด็นปัญหาและทิศทางการวิจัยด้านการเปลี่ยนแปลงทางประชากรและสังคม เช่น สังคมสูงวัย สุขภาพโลก การเคลื่อนย้ายประชากรและการระบาดของโรค การวิเคราะห์และการอ่านเชิงวิพากษ์งานวิจัยว่าด้วยแนวคิดเชิงทฤษฎี ระเบียบวิธีวิจัย และจริยธรรมการวิจัย การอภิปรายกรอบความคิดการวิจัย การวิเคราะห์ผล การนำเสนอและนำไปใช้ประโยชน์ การจัดสัมมนาการวิจัยทางประชากรและสังคม

PRPR 629 Seminar in Population and Social Research
Research issues and directions related to population and social changes such as ageing society, global health, population mobility and epidemiology of diseases; analysis and critical reading of existing research in terms of its concepts, theories, methodologies, and ethics; discussion of research frameworks, data analysis, interpretation and implications of findings; conducting a seminar in population and social research
วจปส ๖๔๐ สารัตถประชากรศาสตร์และเทคนิคการวิเคราะห์                
หน่วยกิต ๓ (๓-๐-๖)          
ทฤษฎีทางประชากรศาสตร์ ขนาด โครงสร้าง การกระจายตัว และการเปลี่ยนแปลงทางประชากร ปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางประชากรเกี่ยวกับด้านชาติพันธุ์ สังคม เศรษฐกิจ สังคม การประยุกต์ทฤษฎีทางประชากรกับข้อมูลและมาตรวัดทางการวิจัยด้านประชากร ภาวะเจริญพันธุ์ ภาวะสมรส ภาวะการตาย ตารางชีพ การย้ายถิ่น ความเป็นเมือง การคาดประมาณประชากร นโยบายประชากรและทิศทางการวิจัยทางประชากร เทคนิคพื้นฐานในการวิเคราะห์ทางประชากรศาสตร์ ประยุกต์แนวคิดทางประชากรศาสตร์ในการวิเคราะห์ ประโยชน์จากการนำไปใช้  แหล่งข้อมูลต่าง ๆ การรวบรวมข้อมูล

PRPR 640  Substantive Demography and Analytical Techniques
Population theories; population size, structure, distribution and changes; factors affecting change in population related to ethnicity, socio-economic aspects; applying population theories to data and measurements on demographic research; fertility; nuptiality; mortality; life table; migration; urbanization; population projection; population policy and directions of population research; fundamental techniques in demographic analysis; applying demographic concept to demographic analysis; its application; data sources; data collection
วจปส ๖๔๑  การวิจัยเชิงปริมาณและการปฏิบัติ                                         
หน่วยกิต ๓ (๒-๒-๕)    
หลักการและระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์เชิงปริมาณ แหล่งข้อมูลเชิงปริมาณจริยธรรมการวิจัยที่เกี่ยวข้อง การกำหนดประเด็นปัญหาการวิจัย หัวข้อการวิจัย วัตถุประสงค์และคำถามการวิจัย การตั้งสมมติฐาน การทบทวนวรรณกรรมและสร้างกรอบแนวคิด การกำหนดตัวแปรและนิยามเชิงปฏิบัติการ การออกแบบวิธีการสุ่มตัวอย่าง การสร้างเครื่องมือการวิจัย วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล
การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ การนำเสนอผลการเขียนรายงาน การนำเสนอรายงาน การฝึกปฏิบัติการวิจัยในชั้นเรียน การฝึกปฏิบัติการวิจัยภาคสนาม

PRPR  641   Quantitative Research and Practicum
Principles and methodology in quantitative social sciences research; quantitative data sources; research ethical concerns; identifying research problem, topic, research objectives and questions; setting up research hypothesis; reviews of literature and constructing conceptual framework; defining variables and operational definitions; designing sampling methods; research tools; data collection methods; analyzing quantitative data; presenting the results; report writing; report presenting; research on classroom practices; field research practices
 
วจปส ๖๔๒  การวิจัยเชิงคุณภาพและการปฏิบัติ    
หน่วยกิต ๓ (๒-๒-๕)                                                       
ปรัชญา แนวคิดพื้นฐาน ทฤษฎี หลักการ แนวทาง และคุณประโยชน์ของการวิจัยเชิงคุณภาพทางสังคมศาสตร์ การประเมินจุดอ่อน จุดแข็งของการศึกษาเชิงคุณภาพ ประเด็นทางจริยธรรมการวิจัย วิธีการการเก็บข้อมูล การจัดการข้อมูล การวิเคราะห์และการตีความข้อมูล การเขียนและการนำเสนอรายงาน การฝึกปฏิบัติการวิจัยในชั้นเรียน การฝึกปฏิบัติการวิจัยภาคสนาม

PRPR  642   Qualitative Research and Practicum
Philosophy, basic concepts, theories, principle, approaches and contributions of qualitative research in social sciences; evaluation of strengths and weaknesses of qualitative studies; research ethical issues;  data collection methods; data management; data analysis and interpretation; report writing and presenting; research on classroom practices; field research practices
วจปส ๖๔๒  การวิจัยเชิงคุณภาพและการปฏิบัติ    
หน่วยกิต ๓ (๒-๒-๕)                                                       
ปรัชญา แนวคิดพื้นฐาน ทฤษฎี หลักการ แนวทาง และคุณประโยชน์ของการวิจัยเชิงคุณภาพทางสังคมศาสตร์ การประเมินจุดอ่อน จุดแข็งของการศึกษาเชิงคุณภาพ ประเด็นทางจริยธรรมการวิจัย วิธีการการเก็บข้อมูล การจัดการข้อมูล การวิเคราะห์และการตีความข้อมูล การเขียนและการนำเสนอรายงาน การฝึกปฏิบัติการวิจัยในชั้นเรียน การฝึกปฏิบัติการวิจัยภาคสนาม

PRPR  642   Qualitative Research and Practicum
Philosophy, basic concepts, theories, principle, approaches and contributions of qualitative research in social sciences; evaluation of strengths and weaknesses of qualitative studies; research ethical issues;  data collection methods; data management; data analysis and interpretation; report writing and presenting; research on classroom practices; field research practices
(๒)  หมวดวิชาเลือก
วจปส  ๕๒๓  พฤฒิวิทยาเชิงสังคม
หน่วยกิต ๓ (๓-๐-๖)
แนวคิด ทฤษฎี และจริยธรรมการวิจัยกับผู้สูงอายุ ความรู้เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างอายุประชากร ปัจจัยและผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากร มาตรวัดต่าง ๆ ทางประชากรผู้สูงอายุ ภาวะการเจ็บป่วย  ภาวะทุพพลภาพ ภาวะการตาย อายุคาดเฉลี่ย สถานภาพด้านเศรษฐกิจและสังคม สถานภาพการทำงาน เพศภาวะ การย้ายถิ่น ลักษณะการอยู่อาศัย การเกื้อหนุนทางสังคม สุขภาวะทางเพศและอนามัยเจริญพันธุ์ ความรุนแรง นโยบาย การจัดบริการและสวัสดิการสำหรับผู้สูงอายุ รูปแบบการดูแลและค่าใช้จ่ายในการดูแลระยะยาว แหล่งข้อมูลและทิศทางการวิจัยเกี่ยวกับผู้สูงอายุ

PRPR  523   Social Studies of Aging  
Concepts, theories and research ethics on aging; knowledge on changing in population-age structure; determinants and consequences of changing in population structure; measurement on population aging; morbidity; disability; mortality; life expectancy; socio-economic status; employment status; gender; migration; living arrangement; social support; sexuality and reproductive health; violence; national policy on aging; social welfares and management;  patterns and cost of long term care; data sources and research direction on  aging
วจปส  ๕๕๘  สถิติเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ขั้นสูง
หน่วยกิต ๓ (๒-๒-๕)
หลักการใช้สถิติเชิงอนุมานเพื่อการพยากรณ์ สมการเชิงเส้นตรงและสมการที่ไม่เป็นเส้นตรง สมการถดถอยพหุคูณเชิงเส้น สมการถดถอยพหุคูณแบบโลจิสติกส์ที่ตัวแปรตามมีการวัดแบบสองกลุ่ม มากกว่าสองกลุ่มและแบบอันดับ การวิเคราะห์จำแนกพหุ และการวิเคราะห์ด้วยสมการโครงสร้าง การประยุกต์สถิติให้เหมาะสม ประเด็นทางจริยธรรมในการใช้สถิติขั้นสูง
 
PRPR  558   Advanced Statistics for Social Science Research
Principles of inferential statistics for prediction; linear and nonlinear equation; multiple regression analysis; logistic regression analysis by binary, multinomial and ordinal scale; multiple classification analysis and structural equation model; applying appropriate statistics; ethical issues in using advanced statistics   
วจปส  ๕๗๒  ภูมิภาคศึกษา
หน่วยกิต ๓ (๓-๐-๖)
ทฤษฎีด้านการพัฒนา ทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ พัฒนาการและแนวโน้ม
การพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศในเอเชีย การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจของภูมิภาค อนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ประชาคมอาเซียน เขตการค้าเสรีอาเซียน-จีน วิเคราะห์ผลกระทบที่เกิดขึ้นในด้านประชากร
การเคลื่อนย้ายแรงงาน เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม

PRPR  572   Regional Studies
Development theories; international relations theories; development and trends in economics of Asian countries;  regional economic integration, Greater Mekong Sub-region (GMS),  ASEAN community, ASEAN-China Free Trade Agreement (FTA); analyzing the impacts on population, labor mobility, economics, social and culture
วจปส  ๕๗๖  เพศภาวะ เพศวิถี และอนามัยเจริญพันธุ์ 
หน่วยกิต ๓ (๓-๐-๖)
แนวคิดเพศภาวะ เพศวิถี สุขภาวะทางเพศ และการอนามัยเจริญพันธุ์ มุมมองประชากรศาสตร์กับอนามัยเจริญพันธุ์ การเจริญพันธุ์ การวางแผนครอบครัว การใช้วิธีคุมกำเนิด การทำแท้ง การอนามัยแม่และเด็ก ปัจจัยกำหนดสุขภาวะทางเพศและอนามัยเจริญพันธุ์ สิทธิมนุษยชน สิทธิทางเพศ ปัญหาสุขภาพทางเพศและอนามัยเจริญพันธุ์ของหญิงและชาย ประเด็นปัญหาสุขภาพทางเพศและอนามัยเจริญพันธุ์ที่สำคัญของโลกและภูมิภาค กฎหมายและความยุติธรรมทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับสุขภาวะทางเพศ ประเด็นและแนวโน้มการวิจัยด้านสุขภาวะทางเพศและอนามัยเจริญพันธุ์

PRPR  576   Gender, Sexuality and Reproductive Health
Concepts on gender, sexuality, healthy sexuality and reproductive health; demographic aspect on reproductive health, fertility, family planning, contraceptive uses, abortion, maternal and child health; determinants of healthy sexual and reproductive health; human rights; sexual rights; problems on women’s and men’s reproductive health; major problems in sexual and reproductive health at global and regional level;  laws and social justice relating to healthy sexuality; issues and research trends in healthy sexuality and reproductive health
วจปส  ๕๘๐  ระบบภูมิสารสนเทศทางสังคมและสุขภาพ
หน่วยกิต ๓ (๓-๐-๖)          
แนวคิด วิธีการและองค์ประกอบทางภูมิสารสนเทศ แนวคิดและความหมายเกี่ยวกับแผนที่  การได้มาและการนำเข้าข้อมูล การจัดการและการวิเคราะห์ข้อมูล การประยุกต์วิธีการภูมิสารสนเทศเพื่องานวิจัยทางประชากร สังคม และสุขภาพ การนำเสนอข้อมูลด้วยแผนที่ 

PRPR  580   Social and Health Geographic Information Systems         
Concepts, methods, and composition of Geographic Information Systems; concepts and meanings related to map; data acquisition and entry; data management and analysis; application of Geographic Information System for research on population, social,  and health research; presentation in maps
วจปส  ๕๘๕  เศรษฐศาสตร์ประชากรและแรงงาน
หน่วยกิต ๓ (๓-๐-๖)
หลักการ แนวคิด ทฤษฎี ด้านเศรษฐศาสตร์ประชากรและแรงงาน นัยยะความสัมพันธ์ของการเปลี่ยนแปลงทางประชากรและกำลังแรงงาน ผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ ภาวะเจริญพันธุ์ ตลาดแรงงาน อุปสงค์และอุปทานแรงงาน ค่าแรง การกระจายรายได้ ความยากจน การย้ายถิ่น การสาธารณสุข ประชากรสูงอายุและแรงงานสูงอายุ แรงงานข้ามชาติ แรงงานเด็ก

PRPR 585 Population and Labor Economics 
Principles, concepts and theories of population and labor economics; implications of changes in population and labor force; impact on economic system and development, fertility, labor market, labor demand and supply, wage, income distribution, poverty,  migration, public health, population ageing and older worker, cross- border migrant worker, child labour
วจปส  ๖๒๔  มานุษยนิเวศน์วิทยา
หน่วยกิต ๓ (๓-๐-๖)        
         
ทฤษฎีมานุษยนิเวศวิทยา ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ  สิ่งแวดล้อมที่มีอิทธิพลต่อการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ การกระจายตัวและการปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมของประชากร  ดุลยภาพของประชากรกับทรัพยากรธรรมชาติ   สิ่งแวดล้อมกับการพัฒนาทางสังคม  ความเป็นเมือง การพัฒนาการคมนาคม  การใช้ที่ดิน  การปรับปรุงสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับการดำรงชีพของมนุษย์

PRPR  624   Human Ecology    
Human ecology theories; relationships between human and natural environment;  influences of environment on human settlement; human distribution and adaptation to population’s environment; equilibrium of population and natural resources; environment and social development, urbanization, transportation development, and land use; appropriate environmental improvement to human life
วจปส ๖๔๓ ทฤษฎีสังคมและการประยุกต์ 
หน่วยกิต ๓ (๓-๐-๖)
พื้นฐานของทฤษฎีสังคม กระบวนทัศน์ในการสร้างความรู้ องค์ประกอบของทฤษฎีสังคม วิธีวิทยาและการนำไปใช้ ทฤษฎีสังคมที่คัดสรรของสำนักคิดต่าง ๆ สำนักคิดยุคสมัยใหม่ สำนักนีโอมาร์กซิส สำนักสัญวิทยา สำนักหลังสมัยใหม่ แนวคิดโครงสร้างสังคม-ผู้กระทำการ แนวคิดพหุนิยมทางการเมือง ทฤษฎีในยุคศตวรรษที่ ๒๑ การประยุกต์ทฤษฎีและแนวคิดในการอธิบายปรากฏการณ์ทางประชากรและสังคมอย่างมีจริยธรรม

PRPR 643   Social Theory and Application
Fundamentals of social theories; paradigms for constructing social knowledge; elements of social theory, methodology and its applications; selected social theories and concepts from different schools of thought, Modernism, Neo-Marxism, Critical Semiology, Postmodernism, Social Structure and Agency, Political of Pluralism, social theory in the 21st century; applying theories and concepts to explain population and social phenomena with ethics
วจปส  ๖๔๔  นโยบายประชากรและสังคมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน
หน่วยกิต ๓ (๓-๐-๖)
หลักการและการกำหนดนโยบายทางประชากรและสังคม การวิเคราะห์นโยบายทางประชากรและสังคม เทคนิคและเครื่องมือทั้งเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ ความสัมพันธ์ระหว่างนโยบายและพลวัตทางประชากรและสังคม นโยบายเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน

PRPR   644   Population and Social Policy for Sustainable Development
Principles and formulation of population and social policies; analysis of population and social policies; techniques and tools on quantitative and qualitative approaches; relationship between policy and population and social dynamic; policies for sustainable development
วจปส  ๖๔๕  ประชากรศาสตร์สุขภาพในโลกแห่งการเปลี่ยนแปลงพลิกผัน           
หน่วยกิต ๓ (๓-๐-๖)
แนวคิดและคำจำกัดความของนวัตกรรมเปลี่ยนแปลงพลิกผันในภาคการดูแลสุขภาพ แนวคิดทางประชากรกับสุขภาพ แนวคิดวิทยาการระบาดกับสุขภาพ แนวคิดสังคมวิทยากับสุขภาพ แนวคิดมานุษยวิทยากับสุขภาพ การวัดสถานะสุขภาพของประชากร ตัวกำหนดสุขภาพด้านกาย จิต และสังคมของประชากร  โปรแกรมประยุกต์ด้านสุขภาพ การแพทย์ทางไกล แหล่งข้อมูลด้านสุขภาพประชากรและสารสนเทศด้านสุขภาพ

PRPR  645    Health  Demography in the Disruptive World
The concept and definition of ‘disruptive innovation’ within the healthcare sector; concepts in population and health; epidemiology of health; sociology of health; anthropology of health; measurement of health status; biological, psychological and social determinants of health; mobile health applications; telemedicine; data sources on population health and health informatics
วจปส ๖๔๖ รุ่นประชากรศึกษาและผลกระทบ
หน่วยกิต ๓ (๓-๐-๖)
แนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวกับการแบ่งประชากรออกเป็นกลุ่มตามช่วงปีเกิด ความเหมือนและความต่างในมิติต่าง ๆ ของประชากรต่างรุ่น ผลกระทบของรุ่นประชากรทั้งทางสังคมและเศรษฐกิจ แนวคิด ค่านิยม บรรทัดฐาน ความขัดแย้งและความเห็นพ้องระหว่างรุ่นประชากร ปัจจัยและสาเหตุที่มีผลต่อลักษณะร่วมของประชากรในแต่ละรุ่น งานวิจัยที่ใช้มุมมองรุ่นประชากรศึกษา

PRPR 646  Generational Studies and Implication
Perspectives and theories related to grouping people according to their birth-year range; similarities and dissimilarities among generations; social and economic implications of generational aspects; perspectives, values, and norms of generations; generational conflicts and concords; factors and causes of generational characteristics; researches using the lens of generations
วจปส  ๖๔๗  การติดตามและการประเมินผลนโยบายและชุดโครงการ
หน่วยกิต ๓ (๓-๐-๖)
ความหมายและความสำคัญ แนวคิดพื้นฐานของการติดตามและประเมินผล กรอบการประเมิน ตัวชี้วัด ระบบข้อมูล การประเมินผลด้วยวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ การประเมินผลนโยบาย การออกแบบการประเมินผลกระทบของโครงการ สถิติที่ใช้ในการติดตามและประเมินผลโครงการ การวิเคราะห์ต้นทุน-ประสิทธิผล การพัฒนาแผนการติดตามและประเมินผล

PRPR  647   Monitoring and Evaluation of Policies and Programs
Meanings and importance; basic concepts on monitoring and evaluation; evaluation frames; indicators; data systems; qualitative evaluation; policy evaluation; designs of impact evaluation; statistical methods for program monitoring and evaluation; cost-effectiveness analysis; development of monitoring and evaluation plans
วจปส ๖๔๘ การจัดการและการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ 
หน่วยกิต ๓ (๒-๒-๕)        
การจัดการข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณและคุณภาพ ความรู้พื้นฐาน หลักการในการจัดการข้อมูล จริยธรรมในการจัดการข้อมูล การจัดการข้อมูลในวงจรการทำวิจัย การวางแผนการจัดการข้อมูล ชนิดของข้อมูลการวิจัย การประเมินคุณภาพข้อมูล  การใช้โปรแกรมสำเร็จรูปและชุดคำสั่งเพื่อการจัดการข้อมูลเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ การทำโครงสร้างข้อมูลและการเปลี่ยนโครงสร้างข้อมูล การสร้างตัวแปรและให้ค่าตัวแปร การเชื่อมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ การตอบคำถามวิจัยและนโยบาย การแปลผลและการอภิปรายผลจากการวิเคราะห์ข้อมูล

PRPR  648  Data Management and Analysis for Social Science Research
Management and analysis of social science data for quantitative and qualitative research; basic knowledge and principles of data management; ethical issues in data management; data management in research cycle; data management planning; types of research data; data quality assessment; software tools and their commands for quantitative and qualitative data management; data structuring and restructuring; creation of variables and formatting of values; combination of data files; analysis of large-scale data sets; response to research and policy questions; interpretation of research findings; and discussion of results of data analysis
วจปส ๖๔๙  ประชากรศาสตร์เพื่อการตัดสินใจทางธุรกิจ
หน่วยกิต ๓ (๓-๐-๖)        
การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรและสังคมกับการดำเนินธุรกิจในมิติต่าง ๆ ผลกระทบต่อการบริหาร การจัดการการตลาด และการจัดการทรัพยากรมนุษย์ขององค์กรธุรกิจ ฐานข้อมูลและแหล่งข้อมูลด้านประชากรศาสตร์ที่สำคัญเพื่อการวิจัยทางการตลาด  การบูรณาการความรู้ทางประชากรศาสตร์ในการจัดการเชิงกลยุทธ์และการตลาดเชิงกลยุทธ์ เพื่อการวางแผนและการดำเนินธุรกิจที่มีประสิทธิภาพ

PRPR  649  Demography for Business Decisions
Demographic and social changes and business conducts; implications on business management, marketing management, and human resource management; important demographic databases and sources for marketing research; integration of demographic knowledge in marketing and managing strategies to enhance the effectiveness of business planning and implementation
วจปส ๖๕๐ นวัตกรรมและการพัฒนาประชากร
หน่วยกิต ๓ (๓-๐-๖)        
การวิเคราะห์ปัจจัยด้านประชากรและสังคมที่มีต่อนวัตกรรม ผลกระทบของนวัตกรรมเชิงทฤษฎีและเชิงประจักษ์ ข้อมูลประชากรเพื่อนวัตกรรม นวัตกรรมด้านสังคม นวัตกรรมและการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม นวัตกรรมและสิ่งแวดล้อม นวัตกรรมและนโยบายด้านเทคโนโลยี

PRPR  650  Innovation and Population Development
Analysis of demographic and social determinants on innovation; theoretical and empirical consequences of innovation; demographic data for innovation; social innovation; innovation and economic and social development; innovation and environment; innovation and technology policy
(๓) วิทยานิพนธ์
วจปส  ๖๙๘  วิทยานิพนธ์ 
หน่วยกิต ๑๒ (๐-๓๖-๐)
การออกแบบโครงการวิจัยประเด็นทางด้านประชากรและสังคม การประยุกต์ทฤษฎีด้านประชากรและสังคม การดำเนินการวิจัยอย่างมีจริยธรรม การวิเคราะห์ผลการวิจัย การนำผลงานวิจัยมาเรียบเรียงเป็นวิทยานิพนธ์  การนำเสนอรายงานวิจัย  การเผยแพร่ผลงานวิจัยในวารสารหรือสิ่งพิมพ์ทางวิชาการที่เป็นมาตรฐานหรือในรายงานสืบเนื่องจากการประชุมทางวิชาการ

PRPR  698   Thesis
Designs of research proposal on population and social issues; application of population and social theories; ethical issues in conducting research; analysis of research results;  writing research results in a thesis; presentation of research report; research publication in standard journals or in conference proceedings
รองศาสตราจารย์ ดร.อมรา  สุนทรธาดาที่ปรึกษาที่ปรึกษา
รองศาสตราจารย์ ดร.ศุทธิดา ชวนวันประธานกรรมการ
รองศาสตราจารย์ ดร.กาญจนา ตั้งชลทิพย์กรรมการ
รองศาสตราจารย์ ดร.อุมาภรณ์ ภัทรวาณิชย์กรรมการ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พจนา หันจางสิทธิ์กรรมการ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.มาลี สันภูวรรณ์        กรรมการ
อาจารย์ ดร.ภก.ธีรธร ยูงทองกรรมการ
อาจารย์ ดร.นุชราภรณ์ เลี้ยงรื่นรมย์กรรมการและเลขานุการ

“ความรู้ทางวิชาวิจัยประชากรและสังคม ช่วยทำให้ผมทำงานในหน้าที่ผู้บริหารนักปกครอง และผู้บริการประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะทำให้ผมมองคน งาน และสังคม ตลอดจนปัญหาต่างๆอย่างเป็นระบบและรอบด้านมากยิ่งขึ้น”

บุญสนอง บุญมี
อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดอำนาจเจริญ และอดีตรองอธิการบดีโครงการจดตั้งวิทยาเขตอำนาจเจริญ มหาวิทยาลัยมหิดล

“หลักสูตรของ IPSR เปิดโลกทัศน์ของผมให้กว้างมากขึ้น ทำให้เข้าใจสังคมอย่างมีวิชาการเป็นฐาน ความรู้ทางประชากรเป็นประโยชน์ต่องานอาชีพงานด้านสื่อของผมอย่างมหาศาล”

สุริยนต์ จองลีพันธ์
ผู้อำนวยการผลิตและหนึ่งในผู้ก่อตั้ง บริษัท ป่าใหญ่ ครีเอชั่น จำกัด

“ดิฉันประสบความสำเร็จในหน้าที่การงานในปัจจุบัน ส่วนหนึ่งที่สำคัญก็เนื่องมาจากการได้เล่าเรียนจากสถาบันฯ โดยที่อาจารย์ของสถาบันฯให้การสนับสนุนส่งเสริม และแนะนำให้รู้จักกับองค์กรระหว่างประเทศที่ตั้งอยู่ในประเทศไทย เครือข่ายการทำงานของสถาบันฯ การมีชื่อเสียงและเป็นที่ยอมรับของสถาบันฯ เมื่อดิฉันสมัครเข้าทำงานที่องค์กรระหว่างประเทศต่าง ๆ จึงได้รับการตอบรับเข้าทำงานมาโดยตลอด”

ศรีสุมาลย์ ศาสตร์สาระ
HIV/Key Populations Specialist, Global Health Program Cycle Improvement Project I GH Pro, Dexis Consulting Group

ผู้สนใจสมัครสามารถสอบถามรายละเอียด ได้ที่  

งานรับนักศึกษา หรือประชาสัมพันธ์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา 
โทรศัพท์ 0-2441-9129, 0-2441-4125 ต่อ 110-115
หรือดูรายละเอียดการรับสมัครได้ที่  www.grad.mahidol.ac.th

Graduate Studies Unit

Preeyavadee Teeranuwat
Email: preeyavadee.tee@mahidol.ac.th
Telephone: 0-2441 0201-4 ต่อ 306

Institute for Population and Social Research
Mahidol University, Salaya Campus
999 Phutthamonthon 4 Road
Phutthamonthon, Nakhon Pathom 73170
Thailand

Telephone 0-2441-0201-4
Fax 0-2441-9333
Website www.ipsr.mahidol.ac.th

สมัครเข้าร่วมหลักสูตร

ดาวน์โหลดเอกสารการสมัครและ โปรดอ่านรายละเอียดต่าง ๆ
อย่างละเอียดก่อนที่จะกรอกข้อมูลตามใบสมัคร

ทุนการศึกษา

รวบรวมทุนการศึกษาเกี่ยวข้องกับหลักสูตร ที่อัพเดตเป็นประจำ
พร้อมรายละเอียดการรับสมัครนักศึกษาทุน