ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิจัยประชากรและสังคม (หลักสูตรไทย)

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิจัยประชากรและสังคม

เป็นหลักสูตรที่มุ่งผลิตดุษฎีบัณฑิตที่มีความรู้ ความสามารถ ในการประยุกต์แนวทฤษฎี ตลอดจนเทคโนโลยี ที่ทันสมัยเพื่อทำวิจัยด้านประชากรและสังคม มีทักษะในการวิเคราะห์ วิพากษ์ และสร้างองค์ความรู้ด้านประชากรศาสตร์และสังคมศาสตร์อย่างเป็นระบบ มีภาวะการนำด้านวิชาการ มีทักษะการสื่อสาร ตลอดจนมีคุณธรรม
และจริยธรรมในวิชาชีพ

“มุ่งผลิตนักวิจัยและงานวิจัยที่ตอบสนองความต้องการทั้งในระดับชาติและระดับนานาชาติ”

ปรัชญาการศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล : จัดการศึกษาที่มุ่งผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนโดยใช้การเรียนรู้เป็นศูนย์กลาง เพื่อให้ผู้เรียนสามารถสร้างเสริมความรู้ ความสามารถและทักษะใหม่ได้ด้วยตนเอง

แนะนำหลักสูตร

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

1.

มีวินัย มีคุณธรรมและจริยธรรมทางวิชาการและการวิจัย

2.

มีความรู้ ความเข้าใจหลักการ ทฤษฎี และกระบวนทัศน์ ที่มีความสำคัญต่อการวิจัยด้านประชากรและสังคม จนสามารถนำไปผลิตงานวิจัยและวิชาการได้

3.

มีความสามารถในการวิเคราะห์ สังเคราะห์ปรากฏการณ์ทางสังคมที่เกิดขึ้น และสามารถบูรณาการความรู้ด้านวิจัยประชากรและสังคมกับศาสตร์อื่นจนเกิดองค์ความรู้ใหม่ได้ด้วยตนเอง

4.

มีมนุษยสัมพันธ์ มีความเป็นผู้นำ ผู้ตามที่ดีสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ และมีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม

5.

สามารถสืบค้น สรุป และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงตัวเลขและสถิติด้านประชากรและสังคมได้อย่างถูกต้อง และสามารถรวบรวม ประมวล เรียบเรียง สื่อสารทางการวิจัยและวิชาการได้อย่างเหมาะสม

วิชาเรียน

จํานวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร : ไม่น้อยกว่า 48 หน่วยกิต

วิชาหลัก

วจปส ๗๐๓ สัมมนาทางปรัชญาและทฤษฎีสังคม
PRPR 703 Seminar in Philosophies and Social Theory
วจปส ๗๐๔ สัมมนาทางการพัฒนางานวิจัยทางประชากรและสังคม
PRPR 704 Seminar in Population and Social Research Development

วิชาที่น่าสนใจ

กลุ่มสถิติประยุกต์และเทคนิคการวิจัยด้านประขากรและสังคม

วจปส ๗๑๐ การวิจัยเชิงคุณภาพขั้นสูงทางประชากรและสังคม
PRPR 710 Advanced Qualitative Research in Population and Social Issues
วจปส ๗๑๑ การวิจัยเชิงปริมาณขั้นสูงทางประชากรและสังคม
PRPR 711 Advanced Quantitative Research in Population and Social Issues
วจปส ๗๑๒ การจัดการข้อมูลเพื่อการวิจัยทางประชากรและสังคม
PRPR 712 Data Management for Population and Social Research
วจปส ๗๑๓ การวิจัยประชากรและสังคมเพื่อธุรกิจ
PRPR 713 Population and Social Research for Business
วจปส ๗๑๔ การวิจัยรูปแบบผสมทางประชากรและสังคม
PRPR 714 Mixed-Methods Research in Population and Social Issues
วจปส ๗๑๕ การวิจัยออนไลน์ทางประชากรและสังคม
PRPR 715 Online Research in Population and Social Issues
วจปส ๗๑๖ ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อการวิจัยทางประชากรและสังคม
PRPR 716 GIS for Population and Social Research
วจปส ๗๑๗ การวิเคราะห์หลายตัวแปรทางการวิจัยทางประชากรและสังคม
PRPR 717 Multivariate Analysis in Population and Social Research
วจปส ๗๑๘ เทคนิคการสุ่มตัวอย่างทางการวิจัยทางประชากรและสังคม
PRPR 718 Sampling Techniques in Population and Social Research
วจปส ๗๑๙ ข้อมูลขนาดใหญ่ และกระบวนการวิเคราะห์ข้อมูลสำหรับสังคมศาสตร์
PRPR 719 Big Data and Data Analytics for the Social Sciences

กลุ่มประชากรศาสตร์

วจปส ๗๒๐ แนวโน้มร่วมสมัยของการครองคู่และการเจริญพันธุ์
PRPR 720 Contemporary Trends of Nuptiality and Fertility
วจปส ๗๒๑ การเจ็บป่วย ภาระโรค และการตาย
PRPR 721 Morbidity, Burden of Disease and Mortality
วจปส ๗๒๒ การย้ายถิ่นข้ามชาติและชายแดนศึกษา
PRPR 722 Transnational Migration and Border Studies
วจปส ๗๒๔ ประชากรสูงอายุและสังคมสูงอายุ
PRPR 724 Aging Population and Aging Society
วจปส ๗๒๕ การวิจัยร่วมสมัยทางภูมิศาสตร์ประชากร
PRPR 725 Contemporary Research in Population Geography
วจปส ๗๒๖ การพัฒนาตัวชี้วัดทางประชากรและสังคม
PRPR 726 Population and Social Indicator Development
วจปส ๗๒๗ พลวัตประชากรและการคาดประมาณ
PRPR 727 Population Dynamics and Estimation
วจปส ๗๒๘ การวิจัยครอบครัวในศตวรรษที่ ๒๑
PRPR 728 Research in Family in the 21st Century

กลุ่มสังคมศาสตร์

วจปส ๗๓๑ เศรษฐศาสตร์สุขภาพเพื่อการวิจัยทางประชากรและสังคม
PRPR 731 Health Economics for Population and Social Research
วจปส ๗๓๓ ประชากรและสังคมในอาณาบริเวณศึกษา
PRPR 733 Population and Society in Area Studies
วจปส ๗๓๔ การประเมินผลนโยบายและโครงการประชากรและสังคม
PRPR 734 Evaluation of Population and Social Policy and Project
วจปส ๗๓๕ สุขภาวะและความเหลื่อมล้ำทางสังคม
PRPR 735 Wellbeing and Social Disparities
วจปส ๗๓๗ สุขภาพและการดูแลสุขภาพในอาเซียน
PRPR 737 Health and Health Care in ASEAN
วจปส ๗๓๘ เศรษฐศาสตร์ประชากรและกำลังแรงงาน
PRPR 738 Population Economics and Labor Force
วจปส ๗๓๙ ประชากรและสังคมทางภูมิทัศน์สื่อหลอมรวม
PRPR 739 Population and Society in Media Convergence
วจปส ๗๔๐ การวิเคราะห์นโยบายและการสื่อสาร
PRPR 740 Policy Analysis and Communication
วจปส ๗๔๑ การวิจัยเกี่ยวกับผู้หญิง เด็ก เยาวชน และการค้ามนุษย์
PRPR 741 Research in Women, Children, Youth and Human Trafficking
วจปส ๗๔๒ ความรุนแรงบนฐานเพศสภาพและสุขภาพทางเพศและอนามัยเจริญพันธุ์
PRPR 742 Gender-Based Violence and Sexual and Reproductive Health
วจปส ๗๔๓ สุขภาพโลก แนวคิดและประเด็นร่วมสมัย
PRPR 7343 Global Health, Contemporary Perspectives and Issues

การดําเนินการหลักสูตร

วัน–เวลาในการดําเนินการเรียนการสอน
จัดการเรียนการสอนในวัน-เวลาราชการ

Course Description

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต  สาขาวิชาวิจัยประชากรและสังคม (Doctor of Philosophy Program in Population and Social Research)

หน่วยกิต (บรรยาย-ปฏิบัติ-ศึกษาด้วยตนเอง)

(๑) หมวดวิชาปรับพื้นฐาน

วจปส ๖๔๐   สารัตถประชากรศาสตร์และเทคนิคการวิเคราะห์                                          ๓(๓-๐-๖)

PRPR 640    Substantive Demography and Analytical Techniques

ทฤษฎีทางประชากรศาสตร์ ขนาด โครงสร้าง การกระจายตัว และการเปลี่ยนแปลงทางประชากร ปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางประชากรเกี่ยวกับด้านชาติพันธุ์ สังคม เศรษฐกิจ สังคม การประยุกต์ทฤษฎีทางประชากรกับข้อมูลและมาตรวัดทางการวิจัยด้านประชากร ภาวะเจริญพันธุ์ ภาวะสมรส ภาวะการตาย ตารางชีพ การย้ายถิ่น ความเป็นเมือง การคาดประมาณประชากร นโยบายประชากรและทิศทางการวิจัยทางประชากร เทคนิคพื้นฐานในการวิเคราะห์ทางประชากรศาสตร์ ประยุกต์แนวคิดทางประชากรศาสตร์ในการวิเคราะห์ ประโยชน์จากการนำไปใช้  แหล่งข้อมูลต่าง ๆ การรวบรวมข้อมูล

Population theories; population size, structure, distribution and changes; factors affecting change in population related to ethnicity, socio-economic aspects; applying population theories to data and measurements on demographic research; fertility; nuptiality; mortality; life table; migration; urbanization; population projection; population policy and directions of population research; fundamental techniques in demographic analysis; applying demographic concept to demographic analysis; its application; data sources; data collection

(๒) หมวดวิชาบังคับ  

วจปส ๗๐๓         สัมมนาทางปรัชญาและทฤษฎีสังคม                                                   ๓(๓-๐-๖)

PRPR 703 Seminar in Philosophies and Social Theory

พัฒนาการขององค์ความรู้เกี่ยวกับปรากฎการณ์ทางสังคม ความหมายของความรู้  ญาณวิทยา ภววิทยา และวิธีวิทยาของความรู้ กระบวนทัศน์สังคมศาสตร์ มโนทัศน์สำคัญในทฤษฎีสังคม โครงสร้างสังคม อัตตบุคคล ผู้กระทำการ การผสานโครงสร้างและผู้กระทำการ ทฤษฎีการปฎิสัมพันธ์เชิงสัญลักษณ์ การประกอบสร้างทางวัฒนธรรม บทบาทของภาษา สัญญวิทยา และปฏิบัติการของการสื่อสาร อุดมการณ์และการครอบงำ วาทกรรมและอำนาจ ร่างกายภายใต้บงการ การปกครองชีวญาน เพศภาวะ เพศวิถี การเมืองเรื่องอัตลักษณ์ ความหลากหลาย ความลื่นไหล ความทับซ้อนของ พหุอัตลักษณ์ การทำให้เป็นชายขอบ การขัดขืน เศรษฐศาสตร์การเมือง และคุณธรรมจริยธรรมของนักวิจัยประชากรและสังคม

Development of social phenomenal knowledge, definitions of knowledge, epistemology, ontology and methodology of knowledge, social science paradigms, key concepts in social theories; social structure; self; agency; and consolidations of social structure and agency; symbolic interaction theory; cultural construction theory; roles of language; semiology and communicative action; ideology and hegemony; discourse and power, bio-politics, governmentality; gender, sexuality, identity politics, diversity, fluidity, intersectionality, marginalization; resistance political, economy, demographic and social researcher’s ethics

วจปส ๗๐๔         สัมมนาทางการพัฒนางานวิจัยทางประชากรและสังคม                             ๓(๓-๐-๖)

PRPR 704          Seminar in Population and Social Research Development

การเปลี่ยนแปลงและสภาพปัญหาทางประชากรและสังคม เป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน แนวคิดการปฏิรูประบบฐานข้อมูล เพื่อการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาประชากร การอ่านเชิงวิพากษ์งานวิจัยในประเด็นอภิปรัชญา วิธีวิทยา กรอบแนวคิดทฤษฎี การออกแบบการวิจัย วิธีวิจัย การแปลผล และการตีความข้อมูล จุดอ่อนและจุดแข็งในงานวิจัย การเขียนโครงร่างการวิจัยที่มีคุณภาพ คุณธรรมและจริยธรรมของนักวิจัยประชากรและสังคม

Demographic change, population and social problems; millennium development goals; sustainable development goals; data revolution; critical reading of each research’s epistemology; methodology; theory; research design; method and data interpretation; identifying weakness and strength of the researches, writing a quality research proposal and demographic and social researcher’s ethics

(๓) หมวดวิชาเลือก

๓.๑ กลุ่มสถิติประยุกต์และเทคนิคการวิจัยด้านประขากรและสังคม                                                   

วจปส ๗๑๐         การวิจัยเชิงคุณภาพขั้นสูงทางประชากรและสังคม                                  ๓(๒-๒-๕)

PRPR 710   Advanced Qualitative Research in Population and Social Issues

ปรัชญาพื้นฐานของแนวทางการวิจัยเชิงคุณภาพแนวทางต่าง ๆ การวิจัยแบบชาติพันธุ์วรรณนา การวิจัยแนวเรื่องเล่า การวิจัยแนวสตรีนิยม การวิจัยแนวปรากฏการณ์วิทยา การวิจัยแนวทฤษฎีจากฐานราก การวิจัยแนววิเคราะห์วาทกรรม การวิจัยแนวงานพัฒนาสังคม  การวิจัยแบบมีส่วนร่วม การวิจัยปฏิบัติการ และการวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม การคิดประเด็นวิจัยร่วมสมัย การเลือกทฤษฎีสังคมที่เหมาะสม การทำกรอบแนวคิดการวิจัย การเขียนโครงร่างงานวิจัยเชิงคุณภาพ จริยธรรมในการวิจัย เทคนิคการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ การจัดการงานภาคสนาม ประเด็นความถูกต้องและความน่าเชื่อถือ การใช้ชุดคำสั่งสำเร็จรูปเพื่อจัดการข้อมูล การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา การตีความข้อมูล เขียนรายงาน และการนำเสนอข้อค้นพบจากการวิจัย

Philosophical foundation of competing qualitative research approaches including, ethnography, narrative, feminist research; phenomenology; grounded theory; discourse analysis and research and development approaches participatory research; action research; participatory action research; formulating contemporary research issues; selecting appropriate social theories and concepts; conceptualizing the research framework; writing the qualitative research proposal; ethical considerations; qualitative data collection techniques; research fieldwork management; computer software for managing qualitative data; issues of validity and reliability; content analysis and  interpretation; writing up and presentation of qualitative research findings

วจปส ๗๑๑    การวิจัยเชิงปริมาณขั้นสูงทางประชากรและสังคม                                        ๓(๒-๒-๕)

PRPR 711   Advanced Quantitative Research in Population and Social Issues

ปรัชญาพื้นฐานของการวิจัยเชิงปริมาณทางสังคมศาสตร์  การสร้างคำถามวิจัยประเด็นร่วมสมัยและประเด็นใหม่ด้านประชากรและสังคม ทฤษฎีที่เหมาะสม การสร้างกรอบแนวคิดการวิจัย การสร้างตัวแปรใหม่ด้านประชากรและสังคม การออกแบบวิธีการเก็บข้อมูลและการสร้างเครื่องมือ ตรรกะของสถิติวิเคราะห์ ที่ใช้บ่อยในงานวิจัยทางประชากรและสังคม  การอ่านเชิงวิพากษ์ตัวอย่างงานวิจัย เปรียบเทียบข้อดีข้อเสียของการเลือกใช้สถิติวิเคราะห์ที่แตกต่างกัน ผลเสียหายจากการละเมิดคุณสมบัติของสถิติวิเคราะห์โดยใช้กรณีศึกษา ประเด็นความถูกต้องและความน่าเชื่อถือ การเขียนทบทวนวรรณกรรมงานวิจัย การตีความผลวิเคราะห์ทางสถิติให้เชื่อมโยงกับแนวคิดทฤษฎี การเขียนรายงานผลการวิจัยและบทความ และจริยธรรมการวิจัย

Philosophical foundation of quantitative research in social sciences; formulating contemporary and new research questions in population and social issues; choosing appropriate theories, conceptualizing the research framework; invention of new demographic and social variables; designing methods for data collection and constructing instruments; the logic underpinning some often-used statistical tools; critical reading of selected quantitative researches; comparison advantages and disadvantages of different statistical analysis; the consequences of the violation of statistical assumptions and properties; issues of validity and reliability; practicing literature reviews; interpretation of statistical results with theories and concepts;  writing up a research report or research article; and research ethic

วจปส ๗๑๒         การจัดการข้อมูลเพื่อการวิจัยทางประชากรและสังคม                             ๓(๒-๒-๕)

PRPR 712   Data Management for Population and Social Research

พื้นฐานและหลักการของการจัดการข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ โดยเน้นที่งานวิจัยขนาดใหญ่ ชนิดของข้อมูลการวิจัย แผนการจัดการข้อมูล การจัดการข้อมูลระยะยาว การเข้าถึงข้อมูล การอ่านและเขียนข้อมูลจากหลากหลายรูปแบบ โครงสร้างข้อมูล และการปรับเปลี่ยนโครงสร้างข้อมูล การรวมไฟล์ข้อมูล การเขียนชุดคำสั่ง เพื่อจัดการข้อมูล การประยุกต์ชุดคำสั่งสำหรับจัดการข้อมูล จริยธรรมในการจัดการข้อมูล 

Fundamentals and principles of both quantitative and qualitative data management; emphasized on large scale surveys; type of research data, data management plan; management of  longitudinal data, large scale survey data; data accessibility; reading and writing data from various data format; data structure and reshaping data structure; combining data files; writing script, programming to manage data; application of programs for data management; ethical issues in data management

วจปส  ๗๑๓  การวิจัยประชากรและสังคมเพื่อธุรกิจ                                                       ๓(๓-๐-๖)

PRPR  713   Population and Social Research for Business 

แนวคิดเกี่ยวกับประชากรศาสตร์ประยุกต์เพื่อการประกอบธุรกิจ และกิจการเพื่อสังคม พัฒนาการ และความสำคัญของข้อมูลทางประชากรศาสตร์เพื่อการตัดสินใจทางธุรกิจ ความเชื่อมโยงระหว่างการเปลี่ยนแปลงทางประชากร กับการดำเนินธุรกิจในมิติต่าง ๆ การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากร และการเปลี่ยนแปลงทางสังคม และเทคโนโลยี ที่ส่งผลกระทบต่อการจัดการทางการตลาด และการจัดการทรัพยากรมนุษย์ขององค์กรธุรกิจ ฐานข้อมูลและแหล่งข้อมูลด้านประชากรศาสตร์ที่สำคัญเพื่อการวิจัยทางธุรกิจ การบูรณาการความรู้ทางประชากรศาสตร์ ในการจัดการเชิงกลยุทธ์และการตลาดเชิงกลยุทธ์ เพื่อการวางแผนและการดำเนินธุรกิจที่มีประสิทธิภาพ

Concepts relating to applied demography for business; and social enterprise; development and importance of demographic data for business decisions; connections between demographic changes and business conducts; demographic, social and technological changes;  impacts on business; marketing and human resource management; important demographic databases and sources for business research; integration of demographic knowledge in marketing and managing strategies to enhance effectiveness of business planning and implementation

วจปส ๗๑๔   การวิจัยรูปแบบผสมทางประชากรและสังคม                                               ๓(๓-๐-๖)

PRPR 714    Mixed-Methods Research in Population and Social Issues

ปรัชญาและสถานภาพของการวิจัยรูปแบบผสมในสังคมศาสตร์ หลักการและเทคนิคของการผสานระเบียบวิธีการวิจัยเชิงปริมาณกับระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ การผสานหลักการปฏิฐานนิยมกับการศึกษาแบบตีความแนวปรากฏการณ์วิทยา ข้อดีและข้อควรระวัง การวิจัยผสมลักษณะต่าง ๆ งานวิจัยรูปแบบผสมที่ปฏิบัติได้ การอ่านงานวิจัยแบบผสมที่เป็นต้นแบบ ประเด็นเรื่องความถูกต้องและความน่าเชื่อถือ จริยธรรมการวิจัย วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลที่มาจากวิธีวิทยาวิจัยแบบผสม วิธีการเขียนรายงานวิจัย และการเขียนบทความวิจัยที่ใช้วิธีวิทยาแบบผสม

The philosophical status of mixed-methods research in social sciences; principles techniques for integrating different methodologies between quantitative and qualitative research; integration of different epistemological assumptions between positivism and interpretive phenomenology; advantages and disadvantages; different models of mixed-methods research;  practical mixed-methods research; reading good practices in mixed-methods research; issues of validity and reliability; ethical considerations; the analyses of data obtained from mixed methodological approaches; writing up a research paper or article that applies mixed-methodologies 

วจปส ๗๑๕    การวิจัยออนไลน์ทางประชากรและสังคม                                                  ๓(๒-๒-๕)

PRPR 715    Online Research in Population and Social Issues

ความหมาย หลักการ ประเภทต่าง ๆ การวิจัยออนไลน์ ทฤษฎีการสื่อสารมวลชนในการวิจัยด้านประชากรและสังคม ประเภทของสื่อออนไลน์ ตัวอย่างงานวิจัยออนไลน์ด้านประชากรและสังคม แบบสำรวจออนไลน์ ข้อมูลจากการสังเกต บทเขียน บทสนทนา รูปภาพ วิดีโอ การเลือกปรากฎการณ์ทางประชากรและสังคมในโลกไซเบอร์เพื่อทำวิจัย สร้างโจทย์วิจัย ออกแบบการทำวิจัยออนไลน์ พัฒนาทักษะการสร้างแบบสอบถามออนไลน์ อคติ ความท้าทาย และเงื่อนไขคุกคามต่อความน่าเชื่อถือ ความตรง และความถูกต้องในการทำวิจัยออนไลน์ การเก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลจากอินเตอร์เน็ตจริยธรรมของการวิจัยออนไลน์ และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

Definition, principles; types of online research, mass communication theories in population and social research; online media; digital media; examples of online research; online survey; online observational data; communicative texts  and speeches; visualized data; video etc., selection of population and social phenomena on the internet; formulation of research questions; online research design; skills to create an online questionnaire, research bias, challenges and threats to research reliability, validity, method of data collection and analysis; ethical considerations of online research and related laws

วจปส ๗๑๖    ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อการวิจัยทางประชากรและสังคม                     ๓(๒-๒-๕)

PRPR 716    GIS for Population and Social Research

ทฤษฎีและองค์ประกอบของระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ การนำเข้า การแสดงผล และการแก้ไขข้อมูล แบบจำลองข้อมูลราสเตอร์และเวคเตอร์ และความสัมพันธ์ของวัตถุเชิงพื้นที่ ข้อมูลเชิงพื้นที่และคุณลักษณะของข้อมูล การซ้อนชั้นข้อมูล การฝึกปฏิบัติกับระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ การประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ในงานวิจัยทางสังคมศาสตร์ และนำเสนอข้อค้นพบของการวิจัยร่วมกับข้อมูลทางภูมิศาสตร์

GIS’s theory and components, input, output and editing data, raster and vector data model, spatial objects and their relationships, spatial data and attributes; Map overlay operations and practice with GIS’s software; application of GIS’s software in social science research and presentation of finding with geographical data

วจปส ๗๑๗    การวิเคราะห์หลายตัวแปรทางการวิจัยทางประชากรและสังคม                       ๓(๒-๒-๕)

PRPR 717    Multivariate Analysis in Population and Social Research

สถิติสำหรับการวิเคราะห์ตัวแปรหลายตัวทางประชากรและสังคม การวิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงเหตุและผลของตัวแปร  การตรวจสอบสภาวะร่วมของตัวแปร การตรวจสอบความ ปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระ การวิเคราะห์ด้วยสมการถดถอยเชิงเส้นตรง การวิเคราะห์แบบโพรบิต การวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติกส์ การวิเคราะห์สมการถดถอยแบบมัลติโนเมียล การวิเคราะห์ระยะปลอดเหตุการณ์ การวิเคราะห์พหุระดับ การสร้างโมเดลสมการโครงสร้าง และ สมการประมาณค่าโดยนัยทั่วไป

Statistical techniques for analysis of multiple population and social variables; Causal Relationship Analysis, Collinerity Testing; Multicollinearity Analysis; Multiple Regression Analysis; Probit Regression; Logistic Regression; Multinomail Logistic Regression; Survival Analysis; Multilevel Analysis; Structural Equation Model; and Generalized Estimating Equation

วจปส ๗๑๘      เทคนิคการสุ่มตัวอย่างทางการวิจัยทางประชากรและสังคม                          ๓(๒-๒-๕)

PRPR 718     Sampling Techniques in Population and Social Research

ปรัชญาและทฤษฎี แนวคิดเรื่องความเป็นตัวแทน ความสำคัญของสุ่มตัวอย่าง การสุ่มตัวอย่างแบบลำเอียงกับผลการพยากรณ์ การออกแบบการสุ่มตัวอย่างวิธีต่างๆ การสุ่มตัวอย่างโดยอาศัยหลักความน่าจะเป็น การสุ่มตัวอย่างโดยไม่อาศัยหลักความน่าจะเป็น การสุ่มตัวอย่างแบบง่าย การสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่มสองขั้นตอน การสุ่มแบบแบ่งกลุ่มหลายขั้นตอน การสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ การเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม การเลือกตัวอย่างแบบบังเอิญ การเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง การสุ่มตัวอย่างแบบส่งต่อ

Philosophy and theory, a concept of representation; significance of sampling, sampling bisas and their consequences, sampling designs, different sampling techniques; Probability Random Sampling; Non-Probability Random Sampling; Simple Random Sampling; Two-stages Stratified Random Sampling; Multi-stages Stratified Random Sampling; Stratified Sampling; Cluster Sampling; Accidental Sampling; Purposive Sampling; Respondent Driven Sampling

วจปส ๗๑๙      ข้อมูลขนาดใหญ่ และกระบวนการวิเคราะห์ข้อมูลสำหรับสังคมศาสตร์             ๓(๒-๒-๕)

PRPR 719     Big Data and Data Analytics for the Social Sciences

คำจำกัดความ แนวคิดพื้นฐาน และทฤษฏีที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลขนาดใหญ่และกระบวนการวิเคราะห์ข้อมูลทางสังคมศาสตร์ องค์ประกอบองค์ประกอบ ประเภท และขั้นตอนของกระบวนการวิเคราะห์ข้อมูล แหล่งข้อมูลขนาดใหญ่ที่สามารถนำมาใช้สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลทางสังคมศาสตร์ กระบวนการเรียนรู้เกี่ยวกับการออกแบบเครื่องมือสำหรับการรวบรวมข้อมูลขนาดใหญ่ออนไลน์ แนวคิดทางสถิติสำหรับกระบวนการวิเคราะห์ข้อมูล การฝึกปฏิบัติใช้เครื่องมือทางคอมพิวเตอร์สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูล การเสนอและสื่อสารผลข้อมูลสำหรับการวิจัยทางสังคมศาสตร์อย่างมีประสิทธิภาพ การออกแบบโครงการที่มีองค์ประกอบของข้อมูลขนาดใหญ่และใช้กระบวนการวิเคราะห์ข้อมูลอย่างเป็นระบบ

Definition, basic concepts and theories related to big data and data analytics for the social sciences; Elements, types; and steps of the data analytics process; Sources of big data that can be applied for social sciences; Learning of tool designing for collecting of big data via online platforms; Statistical Concepts for Data Analytics; Practicing the computer tools skills for data analytics; Data visualization and data communication for the social science research effectively; Designing projects with big data elements and using a data analytics approach systematically

๓.๒ กลุ่มประชากรศาสตร์

วจปส ๗๒๐    แนวโน้มร่วมสมัยของการครองคู่และการเจริญพันธุ์                                     ๓(๓-๐-๖)

PRPR 720     Contemporary Trends of Nuptiality and Fertility

แนวคิด เทคนิคการวิเคราะห์ด้านการครองคู่และการเจริญพันธุ์ สถานการณ์ และแนวโน้มในประเทศไทย การคาดประมาณจำนวนการเกิด ปัจจัยกำหนดทางเศรษฐกิจและสังคมของภาวะเจริญพันธุ์และภาวะการครองคู่ ความสัมพันธ์ระหว่างการครองคู่และการเจริญพันธุ์ ผลกระทบของอัตราเกิดต่ำกว่าการทดแทนทางประชากร ภาวะการเจริญพันธุ์กับปริมาณของแรงงาน ภาวะโสด การแต่งงานของเพศเดียวกัน แม่เลี้ยงเดี่ยว การหย่าร้าง ภาวะเจริญพันธุ์ของประชากรวัยรุ่น การเกิดที่มีคุณภาพ การแต่งงานช้า ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์ด้านเพศภาวะที่มีต่อการแต่งงานและการมีบุตร ช่องว่างระหว่างผลประโยชน์ของปัจเจกบุคลและประโยชน์ของสังคมจากการมีบุตร นโยบายและโครงการรัฐในประเทศที่พัฒนาแล้วและกำลังพัฒนา เพื่อเปลี่ยนแปลงแนวโน้มการเกิดและการแต่งงาน และหัวข้อวิจัยที่น่าสนใจ

Concepts and techniques of nupitiality and feritility;  situation and trends in Thai society; the estimation number of birth, socio-economic determinants of fertility and marriage, relationship between nupitiality and fertility; impacts of fertility below replacement rate, fertility and laborstock; singlehood; same-sex marriages; single mothers; divorces; teenage fertility; quality of childbirth; late marriages; the effects of changing gender relation on marriage and childbearing; gaps between individual and societal net benefits to childbearing; government policies and intervention to alter birth rates and marriage trends in developed and developing countries; and interesting research topics

วจปส ๗๒๑    การเจ็บป่วย ภาระโรค และการตาย                                                         ๓(๓-๐-๖)

PRPR 721     Morbidity, Burden of Disease and Mortality

มุมมอง แนวคิด ทฤษฎี ทางชีวการแพทย์และสังคมวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับภาวะการเจ็บป่วย การตาย และภาระโรค การบีบอัดของการเจ็บป่วย การขยายออกของการเจ็บป่วย และสมดุลที่เป็นพลวัต ข้อมูลและการวัดภาระโรคทั้งในระดับจุลภาคและมหภาค ภาระโรคและการวัดแบบองค์รวมในระดับประเทศและโลก

Biomedical and sociocultural perspectives, concepts, and theories related to morbidity  mortality, and burden of disease; compression of morbidity; expansion of morbidity; and dynamic equilibrium; data and measurement of burden of disease both in micro and macro level; burden of disease and summary measure at national and global levels

วจปส ๗๒๒    การย้ายถิ่นข้ามชาติและชายแดนศึกษา                                                    ๓(๓-๐-๖)

PRPR 722     Transnational Migration and Border Studies

นิยาม แบบแผน รูปแบบ แนวโน้ม การวัด ข้อมูล และแหล่งข้อมูล แนวคิดทฤษฎี การเปลี่ยนแปลงทางสังคม เศรษฐกิจ  และสภาวะการเมืองที่ส่งผลต่อการย้ายถิ่นข้ามชาติและการข้ามพรมแดนในภูมิภาคเอเชีย อนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง และในกลุ่มประเทศอาเซียน เมืองชายแดน การข้ามพรมแดน การแต่งงานข้ามชาติ การพลัดถิ่น คนพลัดถิ่น รัฐ ชาติ ความมั่นคง ความเป็นพลเมือง สัญชาติ การผสมกลมกลืนและการผสานทางวัฒนธรรม ความเป็นพลเมืองแห่งโลก ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม สุขภาพ สิ่งแวดล้อม นโยบาย และกฎหมาย ต่อประเทศต้นทางและประเทศปลายทาง และการอ่านวิจารณ์งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

Definition, patterns, forms, trends, measurement, data and sources of data, theories on transnational migration and border studies, relationship between socio-economics and political dynamic and transnational migration in Greater Asia, Greater Mekong sub-region and among ASEAN counties; border towns; border crossing; transnational marriage; displacement, diasporas, nationhood/statehood, security, citizenship and nationality, cultural assimilation vs. cultural integration, cosmopolitanism; impacts of transnational migration on economic, social, cultural, health, and environmental; policy and legal aspects in both host and destination countries, and critical reading of related research works

วจปส ๗๒๔    ประชากรสูงอายุและสังคมสูงอายุ                                                           ๓(๓-๐-๖)

PRPR 724     Aging Population and Aging Society                                   

แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับประชากรสูงอายุและสังคมสูงอายุ แนวคิดเชิงลบและแนวคิดเชิงบวก  เปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรในประเทศที่พัฒนาแล้วและประเทศที่กำลังกำลังพัฒนา โครงสร้างอายุ ปัจจัยที่กำหนดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากร และผลที่เกิดขึ้น การวัดสังคมสูงวัย ภาวะเจริญพันธุ์ ภาวะการเจ็บป่วย ภาวะการตายความยืนยาวของชีวิต ฐานข้อมูลและแหล่งข้อมูลเกี่ยวกับผู้สูงอายุ ทิศทางของประเด็นวิจัยเกี่ยวกับผู้สูงอายุและสังคมสูงอายุ นโยบายสังคม การจัดการสวัสดิการ สถานะสุขภาพ ความสัมพันธ์ทางสังคม แบบแผนและค่าใช้จ่ายในการดูแล ภาวะการทำงานทางเศรษฐกิจ แบบแผนการอยู่อาศัย การสนับสนุนของครอบครัวและสังคม การอยู่ร่วมกันของคนหลากหลายวัย การประยุกต์แนวคิดและองค์ความรู้เกี่ยวกับประชากรสูงอายุไปใช้ในการวิจัย

Concepts and theories on aging population and aging society; deficit vs. positive perspectives; comparisons of demographic transitions in developed and developing countries age structure; determinants and consequences of change; measuring of aging society, fertility, morbidity, mortality, and life expectancy; databases and sources of aging population; research directions and trends social policy responses to aging society and aging population; management of social welfares for aging population; health status, social relationships;  patterns and cost of long term care; work and employment; living arrangement; family and social supports; intergenerational family; applying concept and knowledge in population ageing to the research

วจปส ๗๒๕    การวิจัยร่วมสมัยทางภูมิศาสตร์ประชากร                                                  ๓(๓-๐-๖)

PRPR 725     Contemporary Research in Population Geography

ทฤษฎีและแนวคิดสำคัญ การตั้งถิ่นฐานของมนุษย์  ปัจจัยกำหนดการกระจายตัวของประชากรโลก ทำความเข้าใจเรื่องภูมิศาสตร์ในฐานะสาเหตุและผลของการเปลี่ยนแปลงทางประชากร พลวัตรของประชากรและผลที่เกิดขึ้น การย้ายถิ่น การเพิ่ม ลดของการเกิด การตาย การขยายตัวของเมือง ความเป็นเมือง สิ่งแวดล้อม การเติบโตและการถดถอยทางเศรษฐกิจ การจ้างงาน การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลกและผลกระทบต่อประชากร กรณีศึกษา อธิบายและทำนายการกระจายตัวของประชากรในประเทศไทย ประเทศอาเซียน และประเทศอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง นโยบายและกฎหมายที่มีผลต่อการกระจายตัวของประชากร ความเชื่อมโยงระหว่างการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมกับนโยบายและการวางแผนเรื่องพื้นที่ วิธีวิจัยทางภูมิศาสตร์ประชากร หัวข้อการวิจัยที่น่าสนใจ เขียนโครงร่างการวิจัย และนำเสนอโครงร่างการวิจัย

Theories and concepts; population and settlement; determinants of world’s population distribution; understanding geographies as causes and consequences of population dynamics; analyzing population dynamic and its consequences migration; high/low fertility; mortality; expansion of the cities and urbanization; environments; economic growth and regression; employment; Global Climate Change and impacts on Populations; case studies; explaining and predicting population distribution in Thailand, Southeast Asian countries and Mekong Sub-regional countries; policies and laws affecting population distribution; the link between socio-economic development and spatial policy and planning; analysis of selected policies and laws affecting population distribution in Thailand; research methods in population geography; interesting research topics, research proposal writing and presentation

วจปส ๗๒๖    การพัฒนาตัวชี้วัดทางประชากรและสังคม                                                 ๓(๓-๐-๖)

PRPR 726     Population and Social Indicator Development

ความหมาย ความสำคัญ และแนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง แนวทางการสร้างตัวชี้วัดทางประชากรและสังคม ตัวชี้วัดภาวะทางประชากร เศรษฐกิจ และสังคมในระดับสากล ตัวชี้วัดการพัฒนามนุษย์ ตัวชี้วัดสุขภาวะ ตัวชี้วัดความสุขประชาชาติ ตัวชี้วัดความเท่าเทียมทางเพศภาวะ ตัวชี้วัดความไม่เสมอภาคทางเพศ ตัวชี้วัดภาวะทางประชากร อัตราเกิด อัตราตาย อัตราการเจริญพันธุ์ อัตราการตายของมารดา อัตราการตายของทารก ภาระพึ่งพิงทางอายุ ตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจ ตัวชี้วัดความยากจน ตัวชี้วัดการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ ผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ อัตราการว่างงาน ตัวชี้วัดทางสังคม การเลือกปฏิบัติทางสังคม การเข้าถึงความยุติธรรมของประชาชน การละเมิดสิทธิมนุษยชน การเลือกปฏิบัติในมิติเพศภาวะ การมีส่วนร่วมทางเศรษฐกิจและทางการเมืองของสตรี การเข้าถึงบริการสุขภาพและบริการสาธารณะ

Definition, significance, and theoretical perspectives, approaches to population and social indicator construction; world development indicators; human development index; wellbeing indicators; gross national happiness; gender development index; gender inequality index; demographic indicators fertility; maternal mortality; child mortality; dependent ratio; economic growth indicator poverty indicator; gross domestic product; gross national product; unemployment ratio; social indicators social discriminations; access to justice; human right violation, gender discrimination; women’s economic and political participations, access to health care and public services

วจปส ๗๒๗    พลวัตประชากรและการคาดประมาณ                                                      ๓(๓-๐-๖)

PRPR 727     Population Dynamics and Estimation 

แนวคิดพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ อธิบาย อัตราการเติบโตของประชากร ขนาด และโครงสร้างประชากร  ผลของการเปลี่ยนแปลง ภาวะเจริญพันธุ์ การตาย และการย้ายถิ่น ต่ออัตราการเติบโต องค์ประกอบทางอายุและเพศ แรงเหวี่ยงทางประชากรและประชากรสูงอายุ การฉายภาพประชากรและการคาดประมาณประชากร  การคาดประมาณขนาดและโครงสร้างของประชากรกลุ่มต่าง ๆ เพื่อตอบความต้องการของผู้ใช้ในวงกว้าง การคาดประมาณประชากรเพื่อกำหนดแผนงานด้านการศึกษา การจ้างงาน การจัดบริการสุขภาพ การจัดการที่อยู่อาศัย และการลงทุนทางธุรกิจ

Basic mathematics concept that explains population growth; population size and structure; the effects of changes in fertility; mortality and migration on growth; age composition and sex; population momentum and ageing; population projections and forecasts; forecast about the future size and structure of different groups of population in response to the needs of users from a wide range of sectors; estimation of the population for educational planning; employment; health care services; housing management; and business investment

วจปส ๗๒๘    การวิจัยครอบครัวในศตวรรษที่ ๒๑                                                                     ๓(๓-๐-๖)

PRPR 728     Research in Family in the 21st Century

การรื้อสร้างความหมายของครอบครัวและครัวเรือน แนวคิด ทฤษฎีร่วมสมัยเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงครอบครัว การเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง หน้าที่ บทบาทของครอบครัว ความหลากหลายของรูปแบบของครอบครัวผลกระทบของความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และการเมืองต่อครอบครัว การเปลี่ยนแปลงครอบครัวในสังคมต่าง ๆ และผลที่เกิดขึ้น ความเท่าเทียมในครอบครัว การเปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกต่างรุ่น และผลกระทบ ประเด็นวิจัยที่ท้าทาย แหล่งข้อมูลในการวิจัย จริยธรรมในการวิจัยด้านการเปลี่ยนแปลงครอบครัวและครัวเรือน       

The deconstruction of definitions of family and household, contemporary concepts/theories in family changes; changes in structures, functions and roles of family, diversity of family patterns, impact of socio-economic, cultural and political dynamic on family transition; family changes in different societies and consequences; equality in the family, changes in intergenerational relationships in the family and their consequences; challenging research issues; data sources; ethical issues of research on family changes

๓.๓ กลุ่มสังคมศาสตร์

วจปส ๗๓๑    เศรษฐศาสตร์สุขภาพเพื่อการวิจัยทางประชากรและสังคม                             ๓(๓-๐-๖)

PRPR 731     Health Economics for Population and Social Research

แนวคิดและทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ ความล้มเหลวของตลาดบริการสุขภาพ บทบาทของรัฐในการแทรกแซงและการควบคุมตลาดบริการสุขภาพ การประกันสุขภาพและการคลังสุขภาพ ความเป็นธรรมทางสุขภาพ  ผลกระทบทางเศรษฐกิจของการเจ็บป่วยและการบาดเจ็บ การประเมินทางเศรษฐศาสตร์โครงการด้านสุขภาพและเทคโนโลยีด้านสุขภาพ การวิเคราะห์ต้นทุนและประสิทธิผล บัญชีรายจ่ายสุขภาพแห่งชาติ

Economics concepts and theories related to health; market failures in healthcare; government roles in intervening and controlling health care market; health insurance and health financing; health equity; economic impact of disease and injury; economics evaluation of health program and health technology; cost-effectiveness analysis; national health account (NHA)

วจปส ๗๓๓    ประชากรและสังคมในอาณาบริเวณศึกษา                                                 ๓(๓-๐-๖)

PRPR 733     Population and Society in Area Studies

พัฒนาการและการเปลี่ยนแปลงในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มุมมองสหวิทยาการ แนวคิดการศึกษาเปรียบเทียบ ความสัมพันธ์ระหว่างภูมิภาค ความเชื่อมโยงระหว่างภูมิภาคนิยมและโลกาภิวัตน์ ลักษณะทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ วิวัฒนาการและพลวัตรความร่วมมือต่าง ๆ ในระดับภูมิภาคและอนุภูมิภาคในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อาเซียน อนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง และความริเริ่มแห่งอ่าวเบงกอลสำหรับความร่วมมือหลากหลายสาขาทางวิชาการและเศรษฐกิจ และซีแอลเอ็มวีทีฟอรั่ม

Regional transformations and development in Southeast Asia; multidisciplinary approach;  comparative view approach; cross-regional relations; the regionalism and globalization nexus, political, economic, social and cultural traits of Southeast Asia; evolution and dynamics of contemporary regional cooperation initiatives in Southeast Asia, ASEAN, GMS, BIMSTEC and CLMVT forum

วจปส ๗๓๔    การประเมินผลนโยบายและโครงการประชากรและสังคม                               ๓(๓-๐-๖)

PRPR 734     Evaluation of Population and Social Policy and Project 

ความสำคัญของข้อมูลสำหรับนโยบายและโครงการ หลักการและวัตถุประสงค์ของการประเมินผลนโยบายและโครงการ ตัวแบบต่าง ๆ ของการประเมินผล แนวทางการประเมินผล และการออกแบบการประเมินผล แนวกึ่งทดลอง แบบไม่มีการทดลอง การประเมินกระบวนการ การประเมินต้นทุน-กำไร การประเมินผลเชิงคุณภาพ การประเมินผลแนวเสริมแรง การประเมินผลเชิงปริมาณ การประเมินผลแบบผสมวิธี จุดแข็งและจุดอ่อนของการประเมินผลรูปแบบต่าง ๆ ความท้าทายในการเก็บข้อมูล และการวิเคราะห์ข้อมูล กลยุทธ์ในการแปลงข้อค้นพบสื่อสารเพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนแปลง วิเคราะห์โครงการประเมินผลกรณีศึกษา ประเด็นทางจริยธรรมที่ควรพิจารณา พัฒนาและนำเสนอโครงร่างของการประเมินผลนโยบายและโครงการด้านประชากรและสังคม

Importance of evidence-based policy and program; principles and objectives of policy and program evaluation;  evaluation models; evaluation approaches and designing semi-experimental design; non-experimental design; process evaluation; output and outcome evaluation; assessing cost-benefit of the program; qualitative method; empowering evaluation; quantitative method; mixed method; strengths and weaknesses of different types of design; challenges in data collection and analysis; strategies for translations of findings to communicate for change; the analysis of the assigned case study evaluation projects; ethical considerations; writing and presenting practical evaluation research proposal

วจปส ๗๓๕    สุขภาวะและความเหลื่อมล้ำทางสังคม                                                     ๓(๓-๐-๖)

PRPR 735     Wellbeing and Social Disparities

ทฤษฎีและแนวคิดที่เกี่ยวข้อง นิยามสุขภาวะ ความเหลื่อมล้ำทางสังคม ความไม่เป็นธรรมทางสังคม  บทบาทของวัฒนธรรมและโครงสร้างที่สร้างความเหลื่อมล้ำและความไม่เป็นธรรม การทำให้เป็นชายขอบ การสร้างความเป็นอื่น ความหวาดระแวงสาธารณะ การตีตราและการเลือกปฏิบัติ การกีดกัน แนวคิดเรื่องรัฐสวัสดิการ ประชากรเปราะบาง คนจน ผู้หญิง เยาวชน ผู้สูงอายุ ชนกลุ่มน้อยทางชาติพันธุ์ พนักงานขายบริการทางเพศ คนกลุ่มน้อยทางเพศ คนใช้ยาเสพติด คนพิการ แรงงานข้ามชาติ ผู้ลี้ภัย และผู้ต้องขัง ผลลัพธ์ของการพัฒนาทางสังคม เศรษฐกิจ และการเมือง ช่องว่างของการพัฒนา ความเสี่ยงด้านสุขภาพ การเข้าถึงบริการสุขภาพ การจ้างงาน การเข้าถึงที่ดินและทรัพยากรธรรมชาติ การเข้าถึงการศึกษา การเข้าถึงสวัสดิการและบริการสาธารณะ การเข้าถึงกลไกในกระบวนการยุติธรรม และแนวทางในการทำวิจัยจากฐานคิดเรื่องสิทธิ

Related concepts and theories, definition of wellbeing; social disparities; social inequity; roles of culture and structure in imposing social disparities; marginalization; otherness; social panic; stigma and discrimination; exclusion; understanding a concept about welfare state, vulnerable populations the poor, women, youth, aging population, sexual minorities, sex workers, drug users, disable people, transnational laborers, refugees, and inmates; the effects of socio-economic and political development; remaining gaps of the development; health risks; access to health services; employment; assess to land; natural resources; education; social welfares; public services; justice mechanisms;  and approaches to a human rights-based research

วจปส ๗๗    สุขภาพและการดูแลสุขภาพในอาเซียน                                                    ๓(๓-๐-๖)

PRPR 737     Health and Health Care in ASEAN

ภาพรวมเกี่ยวกับอาเซียน พันธกิจและตัวแบบของการรวมตัว แนวคิด ทฤษฎีและความรู้ปฏิบัติ กระบวนการรวมตัวทางเศรษฐกิจภายใต้กรอบอาเซียน ผลกระทบจากกระบวนการรวมตัวต่อสุขภาพ และการดูแลสุขภาพในกลุ่มประเทศอาเซียน มิติด้านสุขภาพจากการบูรณาการทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมวัฒนธรรม การปล่อยเสรีและการทำให้บริการสุขภาพและโรงพยาบาลเป็นธุรกิจเอกชน การแพทย์เชิงท่องเที่ยว การเคลื่อนย้ายอย่างเสรีของนักวิชาชีพด้านสุขภาพ นโยบายสาธารณสุข การควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดต่อข้ามพรมแดน

Overview of ASEAN and its mission and modalities; theoretical and practical knowledge; processes of economic integration under the ASEAN framework; their impacts on health and health care in Southeast Asian countries;  the health dimension of political; economic and sociocultural integration; liberalization and privatization of health care; hospital services; medical tourism; free movement of health professionals; public health policies, and control of crossborder spreading of infectious diseases

วจปส  ๗๓๘  เศรษฐศาสตร์ประชากรและกำลังแรงงาน                                                               ๓(๓-๐-๖)

PRPR 738     Population Economics and Labor Force

หลักการและแนวคิดทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ในการศึกษาประชากรและกำลังแรงงาน ทิศทางนโยบาย การบริหารจัดการ และแนวทางการพัฒนากำลังแรงงานและประชากรที่ช่วยเกื้อหนุนการขยายตัวและสร้างเสถียรภาพให้แก่ระบบเศรษฐกิจ ประเด็นปัญหา และข้อท้าทายในระบบเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้องกับประชากรและกำลังแรงงาน การกระจายรายได้ ความยากจน การย้ายถิ่น สังคมสูงอายุ การจ้างงาน

Economic principles, concepts and theories related to population and labor force;  policy direction, management, and approaches to enforce labor efficiency and population development that could enhance economic expansion and stability, economic problems and challenges related to population and labor force, income distribution, poverty, migration, aging society, and employment

วจปส ๗๓๙    ประชากรและสังคมในภูมิทัศน์สื่อหลอมรวม                                                          ๓(๓-๐-๖)

PRPR 739     Population and Society in Media Convergence

การวิเคราะห์เชิงวิพากษ์ประชากรและสังคมในภูมิทัศน์สื่อหลอมรวม ผลกระทบของยุคสื่อหลอมรวมที่มีต่อ เศรษฐกิจ การเมือง วัฒนธรรม ในระดับบุคคล ชุมชน สังคมและโลก การศึกษาประชากรในบทบาทหลอมรวมระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสาร มโนทัศน์ทางประชากรและสังคมกับการกำกับและเฝ้าระวังสังคมผ่านสื่อกระแสหลัก เทคโนโลยีการสื่อสาร สื่อดิจิทัล และสื่อเครือข่ายสังคมในบริบทหลากหลาย นโยบายความเป็นส่วนตัวกับความเป็นสาธารณะในสื่อ บทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบต่อสังคมในสภาวะข้ามสื่อ

Critical analysis of population and society in media convergence; impacts of media convergence age on economic, politic, and culture as well as on individual, community, society and global levels; population as senders and receivers in communication; relationship between concepts about population and societal monitoring and surveillance via mainstream media; communications technology digital technology; social media networks in diverse contexts, privacy policy and the publicity in media;  social role and social responsibility in the transmedia state

วจปส ๗๔๐    การวิเคราะห์นโยบายและการสื่อสาร                                                                    ๓(๓-๐-๖)

PRPR 740     Policy analysis and communication

แนวคิดและหลักการของนโยบายและกระบวนการนโยบาย แนวคิดและทฤษฎีการวิเคราะห์นโยบายและธรรมาภิบาล เทคนิคและเครื่องมือวิเคราะห์นโยบายและธรรมาภิบาล การออกแบบงานวิจัยเพื่อวิเคราะห์นโยบายและธรรมาภิบาล เทคนิคการสื่อสารข้อมูลวิจัยสู่ผู้กำหนดนโยบาย และการออกแบบการสื่อสารผลการวิจัยสู่ผู้กำหนดนโยบาย

Principles of policy and policy process; approaches and theories for policy and governance analysis; research techniques and tools for policy and governance analysis; research

design for policy and governance analysis; strategies for effective research dissemination to policy makers; and design for research dissemination plan

วจปส ๗๔๑    การวิจัยเกี่ยวกับผู้หญิง เด็ก เยาวชน และการค้ามนุษย์                                 ๓(๓-๐-๖)

PRPR 741     Research in Women, Children, Youth and Human Trafficking

นิยาม แนวคิด ทฤษฎี ที่เกี่ยวข้อง การออกแบบการวิจัยที่เหมาะสมในการวิจัยเรื่อง ผู้หญิง เด็ก เยาวชน และการค้ามนุษย์ จริยธรรมการวิจัยที่เหมาะสมในการวิจัยประชากรกลุ่มเปราะบาง นโยบายและกฎหมายที่เกี่ยวข้องทั้งในระดับสากลและระดับชาติเกี่ยวกับผู้หญิง เด็ก เยาวชน และการค้ามนุษย์ การพัฒนากรอบแนวคิดในการวิจัยประเด็นผู้หญิง เด็ก เยาวชนที่เป็นกลุ่มเฉพาะต่างๆ และการค้ามนุษย์

Definitions, concepts, and theories, appropriate research designs and research issues about women, children and human trafficking; ethical considerations for researching vulnerable populations; developing conceptual framework for researching  women, children and human trafficking

วจปส ๗๔๒    ความรุนแรงบนฐานเพศสภาพและสุขภาพทางเพศและอนามัยเจริญพันธุ์           ๓(๓-๐-๖)

PRPR 742     Gender-Based Violence and Sexual and Reproductive Health

แนวคิดเพศภาวะและเพศวิถีในทฤษฎีสตรีนิยมและทฤษฎีเควียร์ ความหมายของความรุนแรงด้วยเหตุแห่งเพศภาวะ และเพศวิถี และอนามัยเจริญพันธุ์ สาเหตุ รูปแบบ และผลที่เกิดขึ้นจากความรุนแรงในมิติเพศภาวะ ปัญหาวิกฤตด้านอนามัยเจริญพันธุ์ ตัวแบบนิเวศวิทยาทางสังคมของความรุนแรงในมิติเพศภาวะ ความรุนแรงเชิงโครงสร้าง ความรุนแรงทางวัฒนธรรม และการทำให้ความรุนแรงกลายเป็นสถาบัน ความทับซ้อนระหว่างเพศภาวะ ชาติพันธุ์ เพศวิถี/รสนิยมทางเพศ และผลที่เกิดขึ้น ความเชื่อมโยงระหว่างความรุนแรงด้วยเหตุแห่งเพศและปัญหาอนามัยเจริญพันธุ์ การทำร้ายในโรงเรียนบนฐานของเพศภาวะ การเข้าถึงความต้องการด้านวางแผนครอบครัว ความเสี่ยงต่อโรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ การตั้งครรภ์ในวัยรุ่น การเข้าถึงแท้งปลอดภัย ความรุนแรงในครอบครัว การทำความรุนแรงต่อบุคคลหลากหลายทางเพศ การทำร้ายทางเพศและการข่มขืน ปฏิกริยาของสังคมต่อการทำความรุนแรงในมิติเพศภาวะและปัญหาอนามัยเจริญพันธุ์ การให้ความรู้ด้านเพศวิถีศึกษารอบด้าน มาตรการทางนโยบายและกฎหมาย การจัดบริการทางสังคมและสุขภาพที่เหมาะสม ขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมและการรณรงค์สาธารณะ การวิเคราะห์ช่องว่างขององค์ความรู้ และจริยธรรมในการวิจัยเรื่องความรุนแรงบนฐานเพศภาวะ เพศวิถีและอนามัยเจริญพันธุ์

Gender and sexuality concepts in feminist and queer theories; Definitions of gender and sexuality-based violence and sexual and reproductive health, origins, forms and consequences of violence; critical reproductive health problems, socio-ecological model of gender-based violence; structural and cultural violence, institutionalized violence; the intersections of gender, race/ethnicity and sexuality/sexual orientation with violence; the links between gender-based violence and reproductive health problems; school bullying and gender-based violence; unmet needs of family planning; STDs and HIV/AIDS risks; teenage pregnancy; access to safe abortion; domestic violence; violence against sexual minorities; rape and sexual abuse; society’s responses to gender-base violence and reproductive health problems; comprehensive sexuality education; policies and laws; appropriate social and health care services; social movements and public campaigns; analysis of knowledge gaps and ethical issues in gender and sexuality-based and reproductive health

วจปส ๗๔๓    สุขภาพโลก แนวคิดและประเด็นร่วมสมัย                                                 ๓(๓-๐-๖)

PRPR 743     Global Health, Contemporary Perspectives and Issues

ทฤษฎีและความหมาย ประเด็นด้านสุขภาพโลกที่สำคัญ โครงสร้างการอภิบาลระบบสุขภาพโลก
ภูมิทัศน์และกลไกการบริหารจัดการ กระบวนการในการพัฒนานโยบายสาธารณะสุขภาพโลก ขบวนการเคลื่อนไหวประเด็นด้านสุขภาพที่มีความสำคัญระดับโลก หลากมิติของการเข้ามามีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับสุขภาพโลก ทักษะการเจรจาต่อรองทางนโยบายสุขภาพโลก

Theoretical and definition; the important global health issues; global health governance structure; landscape and management mechanisms; processes for the development of global public health policies; important global health movements; multi-dimension of stakeholders’ involvement; global health policy negotiation skills

(๔) วิทยานิพนธ์

วจปส ๖๙๙    วิทยานิพนธ์                                                                                    ๓๖(๐-๑๐๘-๐)

PRPR 699     Dissertation

กำหนดหัวข้อวิจัย พัฒนาเค้าโครงการวิจัย ประกอบด้วย คำถามการวิจัย แนวคิดทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง กรอบแนวคิด สร้างสมมติฐาน วิธีเก็บข้อมูล วิธีการสุ่มตัวอย่างวิธีการวิเคราะห์ข้อมูล ดำเนินการศึกษาวิจัยอย่างมีจริยธรรม คัดกรองข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล การสังเคราะห์และสรุปผลการวิจัย การเขียนเรียบเรียงวิทยานิพนธ์ การนำเสนอวิทยานิพนธ์ต่อกรรมการสอบวิทยานิพนธ์ การเผยแพร่ผลงานวิจัยในรูปบทความวิชาการในวารสารที่มีความน่าเชื่อถือ จริยธรรมในการเผยแพร่ผลงานวิจัย

Identifying a research topic, developing a research proposal including research statement, literature review, conceptual framework, hyphothesis, methods for sampling, data collection and data analysis; research proposal presentation carrying out a research with concern of research ethics, data selection, data analysis; synthesizing and summarizing research findings, writning up a thesis; thesis presentation; research dissemination in a high-impact factor journal, and ethics in research dissemination

รองศาสตราจารย์ ดร.ธีรนงค์ สกุลศรีประธานกรรมการ
รองศาสตราจารย์ ดร.จรัมพร  โห้ลำยองกรรมการ
รองศาสตราจารย์ ดร.มนสิการ  กาญจนะจิตรากรรมการ
รองศาสตราจารย์ ดร.โยธิน  แสวงดีกรรมการ
รองศาสตราจารย์ ดร.รศรินทร์  เกรย์กรรมการ
รองศาสตราจารย์ ดร.สุชาดา  ทวีสิทธิ์กรรมการ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สิรินทร์ยา  พูลเกิดกรรมการ
อาจารย์ ดร.บุรเทพ  โชคธนานุกูลกรรมการ
รองศาสตราจารย์ ดร.ปิยวัฒน์  เกตุวงศากรรมการและเลขานุการ

            “หลักสูตรนี้ช่วยทำให้เราเกิดความคิด และการทำงานอย่างเป็นระบบ นอกจากนี้เรายังสามารถจับใจความสำคัญ สรุปความ เพื่อที่จะขมวดความคิดเหล่านี้ ไปเป็นความคิดรวบยอดของเรา และสร้างออกมาเป็นองค์ความรู้ใหม่ๆ ได้  ซึ่งหลักสูตรนี้ทำให้เราสามารถไปทำงานวิจัยได้อย่างแท้จริง”

ดร.นงนุช จินดารัตนาภรณ์ ศิษย์เก่ารุ่นที่ 1

For more information, please contact :

Program Officer

Institute for Population and Social Research, Mahidol University
Salaya, Phutthamonthon, Nakhon Pathom 73170, Thailand

วราวรรณ ฐาปนธรรมชัย
Email: warawan.tha@mahidol.edu
Phone:+66 2441-0201-4 ext. 308

สมัครเข้าร่วมหลักสูตร

ดาวน์โหลดเอกสารการสมัครและ โปรดอ่านรายละเอียดต่าง ๆ
อย่างละเอียดก่อนที่จะกรอกข้อมูลตามใบสมัคร

ทุนการศึกษา

รวบรวมทุนการศึกษาเกี่ยวข้องกับหลักสูตร ที่อัพเดตเป็นประจำ
พร้อมรายละเอียดการรับสมัครนักศึกษาทุน