Principal Investigator: Suchada Thaweesit
Duration: March 2024 – June 2025
วัตถุประสงค์
- เพื่อศึกษาสถานการณ์ความเสี่ยงและพฤติกรรมรังแกของวัยรุ่น (นักเรียนระดับมัธยมศึกษา อายุ 13-17 ปี) ในโรงเรียนเขตกรุงเทพมหานคร และโรงเรียนขยายโอกาสในชายแดนของประเทศไทย
- เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยสําคัญที่กําหนดความเสี่ยงและพฤติกรรมรังแกของวัยรุ่น โดยคํานึงถึงปัจจัยต่อไปนี้ (ความหลากหลายทางชาติพันธุ์, ศาสนา, ชนชั้น, การแสดงออกทางเพศภาวะ, พฤติกรรมการใช้สื่อ, พฤติกรรมการใช้สารเสพติด, การมีภาวะวิกฤตในชีวิต, ระดับปัญหาสุขภาพจิต,ระดับความแข็งแกร่งของจิตใจ, ระดับการมีทัศนคติเปิดกว้างอยู่ร่วมกับความหลากหลายได้)
- เพื่อพัฒนาเนื้อหาสําหรับจัดทําสื่ออนไลน์ต้นนแบบที่เป็น web application มีเนื้อหาครอบคลุม
3.1 ระบบการคัดกรองนักเรียนที่มีความเสี่ยงต่อพฤติกรรมการรังแก
3.2 ระบบการป้องกัน และสนับสนุน ช่วยเหลือนักเรียนวัยรุ่น ให้ห่ างไกลจากความเสี่ยงต่อพฤติกรรมการรังแกท้ังในฐานะ “ผู้รังแก” และ “ผู้ถูกรังแก” - เพื่อนําสื่อต้นแบบไปทดลองใช้ในโรงเรียนมัธยมศึกษาในกรุงเทพมหานครและโรงเรียนขยายโอกาสชายแดนที่เก็บข้อมูล และทําการประเมินผล
Research Highlights
เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2568 ที่ผ่านมา รศ.ดร. สุชาดา ทวีสิทธิ์ นำทีมวิจัย ถ่ายทำเนื้อหาคลิปวีดีโอ ที่จะนำมาใช้ผลิต MU BullyGuard นวัตกรรมโปรแกรมสื่อออนไลน์ ที่มุ่งป้องกันและแก้ไขปัญหาการบูลลี่ในโรงเรียน MU BullyGuard เป็นสื่อออนไลน์ประเภท Website-based ที่ใช้งานได้ทั้งในระบบโทรศัพท์มือถือ เทปเล็ต และบนจอคอมพิวเตอร์ทั่วไป โปรแกรมสื่อตัวนี้เป็นผลผลิตมาจากโครงการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับสถานการณ์การรังแกในโรงเรียน และการพัฒนาโปรแกรมออนไลน์ เพื่อสร้างเสริมความแข็งแกร่งทางจิตใจของเยาวชนและป้องกันปัญหาการรังแกในเยาวชน
โครงการวิจัยนี้ได้รับทุนจาก วช. เมื่อปี 2567 ภายใต้แผนงานสังคมไทยปราศจากความรุนแรง โดยผลผลิตงานจะมี 2 ส่วน คือ การวิเคราะห์สถานการณ์บูลลี่ในนักเรียนวัยรุ่นอายุ 12-17 ปี ซึ่งผลการสำรวจนักเรียนในโรงเรียนทุกภูมิภาค พบสถานการณ์การบูลลี่เพื่อนและการถูกเพื่อนบูลลี่รูปแบบต่างๆ ค่อนข้างสูงมาก คือ ราว 70-80 % ข้อมูลที่ได้ถูกนำมาวิเคราะห์สกัดผลิตสื่อออนไลน์ที่มีชื่อว่า MU BullyGuard หลักการของการสร้างสื่อนี้ คือ ไม่ไปผลิตซ้ำวิธีการบูลลี่ แต่มุ่งทำให้เยาวชนมีความระมัดระวังมากขึ้นในการไม่ไปบูลลี่เพื่อน ขณะที่เยาวชนที่ถูกบูลลี่เอง ก็สามารถรับมือต่อการบูลลี่ได้อย่างเหมาะสม ไม่ติดอยู่ในวังวนความรุนแรง ที่เรามักได้ยินจากคำพูดที่ว่า “บูลลี่มา บูลลี่กลับ ไม่โกง”
MU BullyGuard ถูกออกแบบมาภายใต้แนวคิดจิตวิทยาเชิงบวก และการเคารพความหลากหลายของเยาวชน อีกทั้งให้ความสำคัญกับการเสริมพลังบวก มีการสร้าง mindfulness และ resilience ซึ่งเป็นความแข็งแกร่งภายใน ทำให้เยาวชนที่ถูกบูลลี่ สามารถลุกขึ้นมายืนหยัดได้อีก
MU BullyGuard กำลังอยู่ระหว่างการผลิตออกมาเพื่อพร้อมนำไปทดลองใช้ โดยโครงการนี้เป็นความร่วมมือระหว่าง สถาบันวิจัยประชากรและสังคม ม. มหิดล ภาควิชาสุขภาพจิตและการพยาบาลจิตเวชศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ ม. มหิดล และ Alice Lee Centre For Nursing Studies มหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ รวมทั้งมีผู้ผลิตสื่อภาคเอกชน และนักวิชาการด้าน IT ของ ม.มหิดล มาร่วมทำงานด้วย นับเป็นโครงการวิจัยข้ามศาสตร์โครงการหนึ่งของ ม.มหิดล และสถาบันวิจัยประชากรและสังคม
Logo ของ MU BullyGuard ถูกออกแบบมาให้มีความหมาย เป็นตัวแทนของพลังด้านบวก พลังแห่งความกล้าหาญ ความเข้มแข็ง และความสามัคคีในการต่อสู้กับการกลั่นแกล้งในเยาวชน
ข้อความ MU BullyGuard หมายถึง “ผู้พิทักษ์ต่อต้านการกลั่นแกล้ง” เป็นการประกาศว่าเราจะไม่ยอมให้ใครต้องเผชิญกับความรุนแรงทางคำพูดหรือพฤติกรรมบูลลี่ทุกรูปแบบ
🦉 นกฮูก สื่อถึง การใช้ปัญญา มีความใจดี แต่แข็งแกร่ง ดวงตากลมโตของนกฮูกสะท้อนถึงความตื่นตัว เฝ้าระวัง พร้อมรับฟัง และปกป้องทุกคนให้ปลอดภัย
“Be Brave, Be Strong, Be Together”
Be Brave (จงกล้าหาญ) – กล้าที่จะพูด กล้าที่จะปกป้องตัวเองและผู้อื่นจากการกลั่นแกล้ง
Be Strong (จงเข้มแข็ง) – เข้มแข็งพอที่จะไม่ให้คำพูดร้ายๆ มาทำลายคุณค่าในตัวเอง
Be Together (อยู่ร่วมกัน) – เพราะเราจะไม่ปล่อยให้ใครต้องเผชิญกับความรุนแรงเพียงลำพัง
พลังของโลโก้นี้ คือ การสร้างการเปลี่ยนแปลงที่ดีกว่า จึงใช้โทนสีฟ้าและสีเขียวเป็นหลัก
โลโก้นี้จะเป็นสัญลักษณ์ของพลังบวกและเป็นเครื่องเตือนใจว่า ทุกคนมีสิทธิ์ที่จะอยู่ในสังคมอย่างปลอดภัย และทุกคนสามารถเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างพื้นที่ปลอดภัยสำหรับกันและกันได้
เมื่อเรา “กล้าหาญ” (Brave), “เข้มแข็ง” (Strong), และ “อยู่ร่วมกัน” (Together) เราสามารถสร้างสังคมที่ปลอดภัยและเต็มไปด้วยพลังบวกได้