Migration of Thai Muslims to Malaysia, Social Integration, and Problem Solving in Southern-border Provinces

Migration of Thai Muslims to Malaysia, Social Integration, and Problem Solving in Southern-border Provinces

Project Period: August 2018 – July 2019
Project Status: กำลังดำเนินการ
Principal Investigator: Aree Jampaklay





วัตถุประสงค์:

  1. เพื่อส่งเสริมให้การย้ายถิ่นไปทำงานในประเทศมาเลเซียของชาวไทยมุสลิมในสามจังหวัดภาคใต้เป็นทางเลือกที่นำมาซึ่งประโยชน์สูงสุดต่อทุกฝ่าย ทั้งผู้ย้ายถิ่น ครอบครัว และชุมชน โดยจะศึกษากระบวนการตัดสินใจย้ายถิ่น กระบวนการย้ายถิ่นการทำงาน การตั้งถิ่นฐานในประเทศมาเลเซีย และผลกระทบที่เกิดขึ้นกับครอบครัวในต้นทาง ในประเด็น สถานภาพการทำงาน สภาพการอยู่อาศัย สถานภาพทางกฎหมาย การส่งเงินกลับ การวางเเผน ในอนาคต การสนับสนุนและเครือข่ายในถิ่นปลายทาง
  2. เพื่อทำความเข้าใจลักษณะและระดับการบูรณาการทางสังคมในถิ่นปลายทางผู้ย้ายถิ่นชาวไทยมุสลิมที่อยู่ในมาเลเซีย และศึกษาว่าลักษณะและระดับการบูรณาการทางสังคมมีความสัมพันธ์กับความอยู่ดีมีสุขของผู้ย้ายถิ่น ซาวไทยมุสลิมที่อยู่ในมาเลเซียหรือไม่ อย่างไร
  3. เพื่อศึกษาว่า คนมาเลเซียมีทัศนคติต่อผู้ย้ายถิ่นชาวไทยมุสลิมที่ไปทำงานและใช้ชีวิตอยู่ในมาเลเซียอย่างไบ้าง เปรียบเทียบกับผู้ย้ายถิ่นจากชาติอื่นๆ (เช่น อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ กัมพูชา)

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

องค์ความรู้ที่จำเป็นต่อการสร้างและส่งเสริมความเข้าใจอันดีต่อกันระหว่างประเทศในภูมิภาคอาเซียน และเป็นองค์ความรู้ที่ยังไม่มีงานวิจัยที่ผ่านมาได้ทำอย่างเป็นระบบมาก่อน ผลการศึกษาจะสะท้อน การบูรณาการทางสังคมของแรงงานชาวไทยมุสลิมในสังคมมาเลเซียที่แท้จริง เป็นองค์ความรู้และเป็นข้อมูลสำคัญที่จะสร้าง ความเข้าใจที่ถูกต้อง และเป็นฐานข้อมูลในการพัฒนากลยุทธ์การปรับตัว หรือการบูรณาการเข้ากับสังคมในถิ่นปลายทาง ซึ่งจะยังประโยชน์ในการอยู่อาศัยร่วมกันในสังคมระหว่างกลุ่มแรงงานชาวไทยมุสลิม กลุ่มแรงงานข้ามชาติอื่นๆ และชาวมาเลเซียเจ้าของประเทศ องค์ความรู้ที่ได้จะเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินนโยบายของภาครัฐและการปกครองส่วนท้องถิ่น ของประเทศไทยและมาเลเซีย รวมทั้งประเทศอื่นๆ ในอาเซียนที่ส่งแรงงานเข้ามายังจุดหมายปลายทางเดียวกัน เพื่อให้ สามารถบริหารจัดการดูแลแรงงานเหล่านี้ใด้อย่างเหมาะลม และมีประสิทธิภาพสูงสุด

ผลผลิตที่คาดว่าจะได้รับ

องค์ความรู้เหล่านี้เป็นสิ่งจำเป็นในการสร้างความเข้าใจ เพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างสันติของผู้คนในสังคมอาเซียน ผู้กำหนดนโยบายของทั้งสองประเทศจำเป็นต้องให้ความสนใจกบกล ยุทธ์การปรับตัว หรือการบูรณาการทางสังคมของผู้ย้ายถิ่นคนไทยในมาเลเซีย เพื่อประโยชน์ในการอาศัยอยู่ร่วมกันใน สังคมระหว่างกลุ่มชาวไทยมุสลิมและชาวมาเลเซีย รวมถึงการยอมรับสถานะของแรงงานชาวไทยมุสลิมให้เป็นส่วนหนึ่งของสังคมมาเลเซีย