คนแก่ล้นสถานสงเคราะห์ บ้านผู้สูงวัยในถิ่นเดิม ทางออกบั้นปลายชีวิตยามไร้ที่พึ่ง

เมื่อในหนึ่งชั่วชีวิตของคนๆ หนึ่ง ต้องพบการเปลี่ยนผ่านของชีวิตในหลายๆ ช่วงเวลา และในหลากหลายมิติ ได้มีการถ่ายทอดเรื่องราวประสบการณ์ผ่านบทความ ในการประชุมวิชาการระดับชาติ “ประชากรและสังคม 2566” ครั้งที่ 17 จัดโดยสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ในมุมมอง Life course ที่เกิดขึ้นในหนึ่งชั่วชีวิตของคน หนึ่งในนั้นเป็นมิติรูปแบบการอยู่อาศัยและสภาพแวดล้อมเพื่อคุณภาพชีวิตในทุกช่วงวัย

“สถานสงเคราะห์ ไม่เพียงพอ รองรับคนแก่ไร้ที่พึ่ง” รศ.ดร.ธีรนงค์ สกุลศรี” สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ชี้ให้เห็นว่า ในช่วงเวลาของการเปลี่ยนผ่านเส้นทางชีวิต ผู้สูงอายุหลายรายมีความจำเป็นต้องเปลี่ยนสถานที่จากบ้านที่คุ้นเคยไปสู่ที่พักในลักษณะของสถานดูแล เป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในชีวิต เพราะ “สถานที่” ให้ความหมายที่สำคัญต่อตัวผู้สูงอายุทั้งในบริบทของเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม เป็นความท้าทายในการพัฒนาสถานที่สำหรับผู้สูงอายุที่มีรายได้น้อย ให้น่าอยู่ “เหมือนได้อยู่บ้าน” หรือ “ได้อยู่ในถิ่นที่อยู่อาศัยเดิม” ที่มีความเป็นชุมชน เน้นการดำรงอยู่อย่างมีศักดิ์ศรีในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม ต่อการมีคุณภาพชีวิตที่ดี ในการขับเคลื่อนเชิงนโยบายโดยเฉพาะกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ในการพัฒนาสถานสงเคราะห์ตามแนวคิดการสูงวัยในถิ่นที่อยู่เดิม

ติดตามอ่านต่อได้ที่ https://www.thairath.co.th/scoop/theissue/2706175