เรขาคณิตของความเหลื่อมล้ำ มุมมองเส้นทางชีวิต กับการลงทุนในเด็กและเยาวชน

รองศาสตราจารย์ ดร.ภูเบศร์ สมุทรจักร สถาบันวิจัยประชากรและสังคม ม.มหิดล กล่าวว่า ในทางเรขาคณิตยูคลิด (Euclidean geometry) ซึ่งมีความเป็นมาตั้งแต่ 300 ปีก่อนคริสตกาล มีการกล่าวถึง อสมการหรือความไม่เท่าเทียมของสามเหลี่ยม (Triangle inequality theorem) ข้อหนึ่งว่า ด้านที่กว้างที่สุด อยู่ตรงข้ามกับมุมที่กว้างที่สุดเสมอ หรืออีกนัยหนึ่ง หากมุมยิ่งกว้าง ระยะทางระหว่างจุดสองจุดของด้านตรงข้ามมุมนั้นก็ยิ่งกว้างไปด้วยและหากยิ่งขยายสัดส่วนของสามเหลี่ยมด้วยการเพิ่มระยะทางของทั้งสามด้านออกไปมากแค่ไหน ระยะทางระหว่างสองจุดฝั่งตรงข้ามกับมุมที่กว้างที่สุด ก็จะยิ่งกว้างขึ้นไปอีก

กฎความไม่เท่าเทียมของสามเหลี่ยมจะว่าไปแล้วไม่ต่างอะไรไปจากปฐมบทของความเหลื่อมล้ำ ที่เริ่มตั้งแต่วัยเด็ก หรืออาจะตั้งแต่การปฏิสนธิด้วยซ้ำ ที่หากจุดเริ่มมีความแตกต่าง เหลื่อมล้ำเพียงแค่คืบ เมื่อเวลาผ่านไปบนเส้นทางชีวิตเพียงไม่กี่ปี ช่องว่างทางสังคมก็สามารถถ่างกว้างจนเพื่อนที่เคยร่วมเรียนชั้นอนุบาลด้วยกันมา ตามหากันไม่เจอเมื่อล่วงเข้าสู่วัยต่างๆ ต่อไป เพราะเส้นทางชีวิตทุกลำดับได้พัดพาให้เพื่อนวัยเยาว์ไปอยู่ในสังคมคนละชั้น

สามารถติดตามต่อได้ที่ ผู้จัดการออนไลน์ : https://mgronline.com/qol/detail/9660000085734
เผยแพร่เมื่อวันที่ 22 กันยายน 2566

Cr. ผู้จัดการออนไลน์