ครัวเรือน’ไทยไม่เหมือนเดิม ถึงครา ‘รัฐ-สังคม’ ปรับกลไกรับ

รศ.ดร.ศุทธิดา ชวนวัน สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ระบุว่า “โครงการวิจัยประเทศไทยในอนาคต” ทำการศึกษาสถานการณ์รูปแบบการอยู่อาศัยในแต่ละช่วงชีวิตของประชากรไทยที่เปลี่ยนแปลงไป มีกลุ่มตัวอย่างเป็นประชากรอายุตั้งแต่ 15 ปี ไปจนถึงมากกว่า 80 ปี (มีข้อจำกัดที่ทำให้ไม่สามารถศึกษาประชากรวัยเด็กได้เพราะฐานข้อมูลที่ใช้ไม่ได้แบ่งกลุ่มไว้ชัดเจน) ใน 2 ช่วงเวลา เปรียบเทียบกับช่วงอดีต คือ 1.สำรวจภาวะการทำงานของประชากร พ.ศ. 2553 สำหรับวัยทำงาน กับ 2.สำรวจประชากรสูงวัยประเทศไทย ปี 2554 สำหรับวัยสูงอายุ ส่วนปัจจุบันคือปี 2566 ใช้วิธีการฉายภาพประชากรโดยวิธีอัตราส่วน (Ratio Method)
..
“ในปี 2566 จะพบว่าประชากรในครัวเรือนพ่อ-แม่-ลูก เราจะพบว่าในแต่ละช่วงวัยมีจำนวนมากที่สุดโดยเฉพาะในวัยทำงาน ช่วง 40-49 ปี ก็อาจจะเป็นช่วงกำลังสร้างครอบครัว กำลังมีลูก ก็ทำให้ในช่วงนี้มีจำนวนครัวเรือนพ่อ-แม่-ลูก อยู่ในจำนวนมากที่สุด สำหรับประชากรในครัวเรือนสามี-ภรรยาโดยเฉพาะในช่วง 30-59 ปี ก็จะมีจำนวนเพิ่มสูง แล้วก็จะลดลงเมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุ เช่นเดียวกับประชากรในครัวเรือนคนเดียวและครัวเรือนข้ามรุ่น สำหรับประชากรวัยทำงานในครัวเรือนเลี้ยงเดี่ยว จะเห็นว่ามีลักษณะขึ้นๆ ลงๆ สำหรับในครัวเรือน 3 รุ่นอายุ ก็คือจะมี 3 Generations อยู่ในครัวเรือน เราจะเห็นว่าเริ่มมีจำนวนเพิ่มขึ้นหลังอายุ 40 ปีขึ้นไป แล้วพอเข้าสู่วัยสูงอายุจะมีแนวโน้มลดลง อันนี้ฉายภาพให้เห็นในปีปัจจุบัน ปี 2566 รูปแบบการอยู่อาศัยของประชากรไทยเป็นอย่างไร”

สามารถติดตามต่อได้ที่ แนวหน้าออนไลน์: https://www.naewna.com/likesara/757056
เผยแพร่เมื่อวันที่ 17 กันยายน 2566

Cr. แนวหน้าออนไลน์