การรับรู้เกี่ยวกับมลพิษทางอากาศภายนอกผ่านมุมมองเส้นทางชีวิต

จากมุมมองเส้นทางชีวิต การสื่อสารความเสี่ยง (risk communication) เกี่ยวกับมลพิษทางอากาศสู่สาธารณะมีความสำคัญต่อการรับรู้เกี่ยวกับมลพิษทางอากาศของแต่ละคน การศึกษาเรื่อง “การรับรู้เกี่ยวกับมลพิษทางอากาศภายนอกผ่านมุมมองเส้นทางชีวิต” มีข้อเสนอแนะให้พัฒนาระบบการสื่อสารความเสี่ยงให้มีประสิทธิภาพ โดยเลือกใช้ข้อความสื่อสารที่เหมาะสมกับประชากรที่มีความไวต่อมลพิษทางอากาศ (sensitive population) ในแต่ละช่วงอายุ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มผู้สูงอายุที่อาจจะยังไม่สามารถเข้าถึงข้อมูล ซึ่งเป็นสาเหตุให้ไม่สามารถตระหนักถึงผลกระทบของมลพิษทางอากาศ รวมทั้งให้ความสำคัญกับการสื่อสารข้อมูลความเสี่ยงให้เกิดประสิทธิผล โดยสื่อสารความเสี่ยงผ่านการช่องทางสาธารณะควบคู่กับการสื่อสารผ่านบุคลากรทางการแพทย์ บุคลากรทางการศึกษาและผู้ดูแล ซึ่งเป็นผู้ที่อยู่ใกล้ชิดและได้รับความเชื่อถือจากประชากรที่ไวต่อมลพิษทางอากาศ – – อาจารย์ ดร. สัตวแพทย์หญิงสรัญญา สุจริตพงศ์ และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. มาร์ค เฟิลแคร์ อาจารย์ประจำสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล
..
ติดตามอ่านต่อได้ที่ เว็บไซต์ข่าว News a live.net
https://www.newsalive.net/lifestyle/การรับรู้เกี่ยวกับมลพิ/
เผยแพร่เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2566
..
ภายใต้งานประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 17 “ประชากรและสังคม 2566” | หลากมิติ ในหนึ่งชั่วชีวิต
เว็บไซต์ https://ipsr.mahidol.ac.th/annual-conference-17th/