ลดไทยป่วยโรคเรื้อรัง ‘กิจกรรมทางกาย’สำคัญ

“กิจกรรมทางกาย” (หรืออีกคำหนึ่งที่คุ้นเคยกว่าคือ “การออกกำลังกาย”) เป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่เชื่อมโยงกับสุขภาพ นั่นคือมีผลต่อการเพิ่มหรือลดโอกาสการป่วยในกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) ควบคู่ไปกับปัจจัยอื่นๆ
..
นายสิทธิชาติ สมตา นักวิจัยโครงการของศูนย์พัฒนาองค์ความรู้ด้านกิจกรรมทางกายประเทศไทย (TPAK) สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล บรรยายหัวข้อ “อัตรากิจกรรมทางกายรายอายุและเพศของประชากรไทย : การวิเคราะห์ช่วงชีวิต” ในงานประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 17 ประชากรและสังคม 2566 “หลากมิติ ในหนึ่งชั่วชีวิต” โดยกล่าวว่า การศึกษาครั้งนี้ใช้การประยุกต์เครื่องมือทางประชากรศาสตร์ นั่นคืออัตรารายอายุและเพศ ซึ่งนักประชากรศาสตร์จะใช้วิเคราะห์อัตราการเกิด การตาย และการย้ายถิ่น
..
“การศึกษานี้มีความสำคัญกับประเทศไทยอย่างมาก เนื่องจากที่ผ่านมาประเทศไทยยังไม่มีการศึกษาอัตรารายอายุและเพศกับช่วงชีวิตที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมทางกาย และแม้ทั่วโลกจะมีการศึกษาความชุกของการมีกิจกรรมทางกายที่ไม่เพียงพอจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของภาพตัดขวางหรือข้อมูลระยะยาว ก็ยังขาดข้อมูลเกี่ยวกับอัตรารายเพศและอายุ ดังนั้นการศึกษาครั้งนี้จะทำให้ทุกคนเข้าใจถึงบริบทของปัจจัยกำหนด รวมไปถึงความแตกต่างระหว่างอายุและเพศเกี่ยวกับกิจกรรมทางกาย” สิทธิชาติ กล่าว
..
สามารถติดตามต่อได้ที่ แนวหน้าออนไลน์ : https://www.naewna.com/likesara/755589
เผยแพร่เมื่อวันที่ 10 กันยายน 2566

Cr. แนวหน้าออนไลน์