IPSR MILLION CHALLENGES

IPSR MILLION CHALLENGES

ทำไมต้องลด “พฤติกรรมเนือยนิ่ง” ? 
ทำไมต้องเพิ่ม “กิจกรรมทางกาย” ?
ทำไมต้องเข้าร่วม “IPSR Million Challenges” ?
 
ในปัจจุบัน เราพบ “พฤติกรรมเนือยนิ่ง (Sedentary Behavior)” กับคนทุกเพศทุกวัยในปัจจุบัน จากพฤติกรรมการทำกิจกรรมในระหว่างวันที่แทบไม่เคลื่อนไหวร่างกาย ได้แก่ การนั่ง และการนอน (ไม่รวมการนอนหลับ) เช่น ดูโทรทัศน์ เล่นเกม ขับรถ อ่านหนังสือ ประชุมนานๆ ใช้คอมพิวเตอร์ ใช้โทรศัพท์มือถือ ใช้แท็บเล็ต หรือที่เรียกกันว่า พฤติกรรมติดจอ (Screen Time) ซึ่งเป็นหนึ่งในปัจจัยเสี่ยงของโรคไม่ติดต่อเรื้อรังต่างๆ (NCDs) ได้แก่ โรคหัวใจหลอดเลือด โรคเบาหวาน โรคมะเร็ง โรคอ้วนลงพุง 
 
หลายองค์กรทั้งในประเทศและต่างประเทศ พยายามผลักดันและขับเคลื่อนกิจกรรมที่ช่วยสนับสนุนและส่งเสริมให้บุคลากรในองค์กรมีกิจกรรมทางกาย (Physical Activity) ในระหว่างวันมากขึ้น โดยการจัดแคมเปญในรูปแบบต่างๆ เช่น การได้คูปองส่วนลดสินค้าหรือบริการ การใช้สถิติจากกิจกรรมทางกายเพื่อเป็นยอดบริจาคเงินให้แก่โรงพยาบาล หรือมูลนิธิต่างๆ
 
โครงการ IPSR Million Challenges จัดขึ้นเนื่องด้วยอยากเห็นบุคลากรของสถาบันฯ ลดพฤติกรรมเนือยนิ่ง เห็นความสำคัญของการเคลื่อนไหวร่างกายหรือออกกำลังกาย เห็นคุณค่าสุขภาพกายและจิตใจ ประโยชน์ที่ได้ คือการมีร่างกายแข็งแรง กระฉับกระเฉง ช่วยควบคุมน้ำหนัก สร้างเสริมบุคลิกภาพที่ดี มีจิตใจเบิกบานแจ่มใส ไปถึงการใช้อิทธิพลกลุ่ม ให้เกิดการร่วมแรงร่วมใจ เป็นแรงผลักดันเพื่อบรรลุเป้าหมายร่วมกันจากการสอบถามและสังเกตพฤติกรรมของบุคลากรของสถาบันฯ พบว่า สาเหตุที่ทำให้มีกิจกรรมทางกายไม่เพียงพอ เช่น ไม่มีเวลา ไม่มีสถานที่ ไม่มีอุปกรณ์ ไม่มีแรงจูงใจ ไม่มีความรู้เพียงพอ ไม่รู้จะเริ่มยังไง เป็นต้น เราคาดหวังว่า โครงการนี้จะสามารถสนับสนุนการทำกิจกรรมทางกาย ช่วยส่งเสริมสุขภาพ และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในระยะยาว รวมทั้งลดพฤติกรรมเนือยนิ่ง และมีคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างยั่งยืน
 
สำหรับใครที่อยากลดพฤติกรรมเนือยนิ่ง แต่ไม่รู้จะเริ่มอย่างไร หรือใครที่อยากแลกเปลี่ยนประสบการณ์เพื่อสร้างแรงบันดาลใจ มาพบกันพุธนี้นะคะ 
 
แล้วคุณจะพบว่า “กิจกรรมทางกาย” กับการสร้างสิ่งดีๆ ร่วมกันเป็นเรื่องง่ายและใกล้ตัวจริงๆ
 
Moderator: ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศุทธิดา ชวนวัน

 

October 31, 2018 Time: 12:30-13:30 hrs. Room 109 Sra-bua