Seminar no. 1207
22 March 2023 Time 12.30 – 13.30 hrs.
Speaker: นายภาสกร สุระผัด (สำนักโภชนาการ กรมอนามัย)
ประเทศไทยเผชิญปัญหาภาวะเริ่มอ้วนและอ้วนในเด็กเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง ซึ่งหลายภาคส่วนพยายามแก้ไขปัญหานี้อย่างต่อเนื่อง ทั้งการสร้างเสริมความรอบรู้ให้แก่เด็ก และสร้างสิ่งแวดล้อมให้เอื้อต่อพฤติกรรมสุขภาพเด็ก แต่โรคอ้วนในเด็กยังคงเป็นปัญหาสาธารณสุขไทยจนถึงปัจจุบัน จึงพยายามหาทางปิดช่องว่าง การดำเนินการจัดการโรคอ้วนในเด็กของประเทศไทยตามกรอบมาตรการและตัวชี้วัดระดับโลกเพื่อยุติโรคอ้วนในเด็ก (Ending Childhood Obesity, ECHO) ขององค์การอนามัยโลก ซึ่งมีการศึกษาวิจัยการดำเนินการของประเทศไทยแล้วตามมาตรการและตัวชี้วัด ECHO พบว่า ช่องว่างสำคัญหนึ่งในนั้น คือ มาตรการควบคุมการตลาดอาหารและเครื่องดื่มสำหรับเด็ก ซึ่งประเทศไทยยังไม่ได้ดำเนินการตามข้อเสนอของ WHO นอกจากนั้นมาตรการนี้ยังสอดคล้องกับข้อเสนอแนะทั้งในประเทศ และต่างประเทศว่าเป็นมาตราการที่มีประสิทธิภาพประสิทธิผลในการจัดการโรคอ้วนและโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ดังนั้น ประเทศไทยควรพิจารณาดำเนินการมาตราการดังกล่าวอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อลดความเสี่ยงของ ภาวะอ้วนในเด็กและลดความเสี่ยงต่อโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง และเมื่อกำหนดว่ามาตรการควบคุมการตลาดอาหารและเครื่องดื่มสำหรับเด็กเป็นประเด็นปัญหาสำคัญในการแก้ไขปัญหาภาวะอ้วนในเด็กของประเทศไทย จึงนำปัญหาดังกล่าวพิจารณาตามกรอบการพัฒนานโยบายสาธารณะ ซึ่งมีกระบวนการกำหนดปัญหา ขอบเขตการแก้ไข การดำเนินการปัจจุบันและช่องว่างมาตราการ (Agenda setting) สู่ Policy Formulation ก่อนไปสู่ Adoption Implementation และ Monitoring & Evaluation ตามลำดับ ซึ่งการบรรยายวันนี้จะเล่าถึง 2 ขั้นตอนหลัก คือ Agenda Setting และ Policy Formulation ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับการนำฐานงานวิจัยมาใช้ในการพัฒนาและขับเคลื่อนนโยบายฯ ได้อย่างเป็นรูปธรรม
Join Zoom Meeting
https://us02web.zoom.us/j/82006212704?pwd=cWNFQ3BPUyswNjJZeTNLYjMyRkdhZz09
Meeting ID: 820 0621 2704
Passcode: 927808
Facebook Live: https://www.facebook.com/IPSRMahidolUniversity