Project Period: September 2018 – August 2020
Project Status: กำลังดำเนินการ
Principal Investigator: Sirinan Kittisuksathit
วัตถุประสงค์:
ได้รับการสนับสนุนโดย สำนักสนับสนุนสุขภาวะเด็ก เยาวชน และครอบครัว (สำนัก 4)
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
องค์ประกอบครอบครัวมีสุข
ครอบครัวมีสุข หมายถึง “ครอบครัวอบอุ่น” ของคนทำงานในองค์กรภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ เอกชน วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) วิสาหกิจชุมชน ในประเทศไทย โดยได้รับการสร้างเสริมและขับเคลื่อน ด้วย องค์ประกอบ สัมพันธภาพ บทบาทหน้าที่ ความเข้มแข็ง และ ความสงบสุขในครอบครัว เมื่อเพิ่ม ความพอเพียง เป็นองค์ประกอบร่วมเข้าไปด้วย จึงเกิดเป็น ครอบครัวมีสุข
คนทำงานองค์กรในประเทศไทย เป็นใครบ้าง
คนทำงานที่มีอายุตั้งแต่ 15 ปี ขึ้นไป ทำงานในองค์กรภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ เอกชน วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) วิสาหกิจชุมชน ในประเทศไทย
ผลผลิตโครงการ
- ถอดบทเรียน“องค์กรมีสุขต้นแบบ”
- สร้าง “นักสร้างเสริมครอบครัวอบอุ่น” หรือ “นักสร้างเสริมครอบมีสุข” ถ่ายทอดองค์ความรู้ และศักยภาพไปยังทุกคนในองค์กร
- ขยายภาคีเครือข่าย “ครอบครัวมีสุขต้นแบบ” เป็น “100 องค์กรครอบครัวมีสุขต้นแบบ”
- จัดการฝึกอบรมระยะสั้น “การเสริมสร้างนักสร้างเสริมครอบครัวมีสุขต้นแบบ”
- สำรวจครอบครัวมีสุขประจำปี ใน 100 องค์กร
- จัดนิทรรศการ “ครอบครัวมีสุขในสังคมไทย”
- จัดประกวดโมเดล “ครอบครัวมีสุขต้นแบบประจำปี” คนทำงานองค์กรในประเทศไทย
- ทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ (Systematic Review Approach) เพื่อจัดทำฐานข้อมูลองค์ความรู้ เกี่ยวกับประเด็นครอบครัวทั้งในระดับภูมิภาคและระดับประเทศ
- ผลิตบทความ เอกสารทางวิชาการ “ครอบครัวมีสุข” ในประเทศไทย
- ติดตามประเมิน “การสร้างเสริมครอบครัวอบอุ่นต้นแบบ” ไปสู่ “ครอบครัวมีสุข” ของคนทำงานใน 100 องค์กรในประเทศไทย
ประโยชน์สำคัญของการจัดกิจกรรมและให้สมาชิกในครอบครัวได้เข้าร่วมกิจกรรมร่วมกัน คือ การส่งเสริมให้เกิดความผูกพัน สร้างความรัก ความสามัคคี และเกิดการใช้เวลาทำกิจกรรมร่วมกันในครอบครัวเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ คนทำงานในองค์กรมีความสุข และสร้างผลิตภาพมีมูลค่าเพิ่มมากขึ้น แนวทางที่จะส่งเสริมกิจกรรมครอบครัวอบอุ่นอย่างต่อเนื่อง คือ การมี “แผนปฏิบัติการครอบครัวมีสุข”
คณะทำงาน: พัฒนาสร้างเสริม ครอบครัวมีสุข
- รองศาสตราจารย์ ดร.ศิรินันท์ กิตติสุขสถิต
- นางสาวกัญญาพัชร สุทธิเกษม
- นางวรรณี หุตะแพทย์
- นางสาวสุภรต์ จรัสสิทธิ์
- นางสุภาณี ปลื้มเจริญ
- นายบุรเทพ โชคธนานุกูล
- นางสาวปรียา พลอยระย้า
- นางสาวพัจนันท์ ศิริรัตน์มงคล
- นายมรุพัชร นามขาน
คณะทำงาน: ทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ (Systematic Review Approach)
- รองศาสตราจารย์ ดร.รศรินทร์ เกรย์
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กาญจนา ตั้งชลทิพย์
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วากาโกะ ทาเคดะ