The Physical Activity and Health Status of the Thai Population

The Physical Activity and Health Status of the Thai Population

Project Period: October 2011 – December 2014
Project Status: กำลังดำเนินการ
Principal Investigator: Yothin Sawangdee


Researcher: Piyawat  Katewongsa, Chutima Yousomboon


วัตถุประสงค์:

           จากการที่ต้องการมุ่งเน้นให้ประชากรไทยมีภาวะสุขภาพที่สมบูรณ์และแข็งแรงที่ คาดว่าจะนำมาสู่การปลอดจากการเจ็บป่วยด้วยโรคต่างๆ ทั้งโรคไร้เชื่อและโรคติดเชื้อ มีทางเลือกในการทำกิจกรรมต่างๆ ที่คาดว่าจะนำมาสู่การมีเหงื่อไหล มีรอบเอวที่ได้มาตรฐาน ปริมาณไขมันในเม็ดเลือดต่ำ ไม่เป็นโรคความดันโลหิตสูง โรคภูมิแพ้ โรคเบาหวาน ฯลฯ วัตถุประสงค์ของการวิจัยนี้จึงกำหนดไว้ดังนี้

  1. เพื่อ ค้นหาความหมายของคำว่ากิจกรรมทางกายที่เป็นคำอัน เกิดจากการบูรณษการของทั้งศาสตร์ทางด้านพลศึกษาและทางด้านแพทยศาสตร์ที่จะนำ ไปสู่การก่อให้เกิด
    การส่งเสริมกิจกรรมทางกายในประเทศไทย พร่อมกับจะค้นหาคำนิยามสำหรับคำว่ากิจกรรมทางกาย ที่เป็นคำกลางที่สามารถนำมาใช้ในสังคมไทยนอกจากนี้จะทำการ
    สืบค้นเพื่อจำแนกคำนิยามตามภาคและบริบททางสังคมตามแต่ละภูมิภาคด้วย
  2. เพื่อ ศึกษาและค้นหาแนวทางในการกำหนดความหนักหน่วงสำหรับ กิจกรรมทางกาย (Intensive) และแนวทางการสร้างเครื่องมือเพื่อวัดกิจกรรมทางกายและเครื่องมือ
    ที่ สามารถนำมาใช้วัดผลที่เกิดขึ้นกับสุขภาพของบุคคล (Health Outcome) ที่มีการกระทำกิจกรรมทางกาย นอกจากนี้จะพิจารณาถึงผู้ที่จะมีส่วนได้ส่วนเสียที่แท้จริงใน
    กิจกรรม ระห่างแพทย์และบุคลากรทางสาธารณสุข นัการพลศึกษา ประชาชน หรือองค์กร และภาคี ผู้ฝึกสอน ผู้เป็นผู้สร้างกลัดสูตร อุปกรณ์และสิ่งอำนวยความสะดวกที่
    จำเป็นต้องมี แหล่งที่มาของงบประมาณที่จะใช้ในการเริ่มต้นการทำงานด้านกิจกรรมทางกาย ตลอดจนแนวการสร้างแรงจูงใจแก่คณะผู้ทำงาน
  3. เพื่อ วัดและวิเคราะห์ทั้งในด้านความสนใจ แหล่งทรัพยากร การวางแผน การประเมินผลที่ต้องตรวจสอบผลการดำเนินงานส่งเสริมกิจกรรมทั้งในระยะยาว ระยะกลางและ
    วัดผลในระยะสั้น ดัชนีการกระทำ หรือพฤติกรรมอันเป็นการแสดงออกของมนุษย์ที่จะเรียกขานว่าเป็นกิจกรรมทางกาย ที่ส่งผลต่อการมีสุขภาพแข็งแรง วิเคราะห์ถึงเวลาใน
    การกระทำ หรทอแสดงพฤติกรรมนั้น ๆ ในด้านของปริมาณนาที จำรวรครั้ง ต่อสัปดาห์ และต่อวันด้วย.

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับของโครงการนี้

          ข้อค้นพบจากงานวิจัยนี้จะสามารถนำไปใช้ในการส่งเสริมให้ประชากรไทยนิยมการทำกิจกรรมทางกายเพิ่มมากขึ้น ดังรายละเอียด

ที่จำแนกเป็นรายข้อดังนี้

  1. ผล การศึกษาจะเป็นประโยชน์ต่อประเทศไทยและสังคมไทยในภาพร วงมทั้งหมด ทั้งในเขตเมืองและเขตชนบท จะทำให้เข้าใจเกี่ยวกับแนวคิดและนำมาเป็นแนวทางใน
    การ ทำให้สุขภาพแข็งแรงได้รู้และเข้าใจในความหมายที่เกิดจากการยอมรับในหมู่ นักวิชาการ ที่นำมาสู่การบูรณาการทั้งในศาสตร์ด้านการพลศึกษาและทางด้าน
    แพทย ศาสตร์ นอกจากนี้ทำให้เกิดองค์ความรู้ที่เป็นภาษาถิ่นของอต่ละภูมิภาคที่จะสามารถนำ ไปใช้ในการส่งเสริมเชิงปฎิบัติการได้โดยกลุ่มที่จะเป็นผู้ใช้ประโยชน์ในข้อ นี้คือ บุคคลผู้ทำหน้าที่ในการส่งเสริมสุขภาพและการทำกิจกรรมทางกาย แพทย์ พยาบาล นักการพลศึกษาตลอดจนประชาชนทั่วไป เป็นต้น
  2. บทสรุปที่ได้จาก การวิจัยจะสามารถชี้นำให้องค์กรและหน่วย งานที่ทำงานด้านการส่งเสริมสุขภาพและการออกกำลังกาย นำกิจกรรมทางกายที่ค้นพบตามแต่ละภาคของ
    ประเทศที่เกิดจากการยอมรับของคน ในชุมชนมาส่งเสริมให้ประชากรไทยที่แตกต่าง ตามเพศและวัยได้กระทำเพื่อให้ได้เหงื่อ เพราะถือว่าเป็นกิจกรรมที่สำคัญอย่างหนึ่งที่จะ
    ส่งผลให้ร่างกายแข็งแรง หมู่คณะและบุคคลที่จะได้รับประโยชน์จากข้อนี้คือ ทุกภาคีเครือข่ายที่ดำเนินงานด้านการส่งเสริมสุขภาพและการออกกำลังกายรวม ทั้งการส่งเสริม
    กิจกรรมทางกายด้วย
  3. ได้ทราบในชนิดของเครื่องมือ ที่จะใช้วัดการกระทำที่รวมถึงความหนักหน่วงของ กิจกรรมและการแสดงออกด้านกิจกรรมทางกาย พร้อมกับได้ทราบถึงเครื่องมือที่จะสามารถ
    นำมาใช้วัดผลทางสุขภาพที่เกิด ขึ้นจากการกระทำตามกิจกรรมทางกาย โดยกลุ่มและคณะของบุคคลที่จะได้ประโยชน์ส่วนนี้คือ นักส่งเสริมสุขภาพและองค์กรในการดำเนินการเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ เป็นต้น

ผลผลิตของโครงการ

  1. สื่อ ที่โครงการผลิต เช่น หนังสือ วารสาร บทความ แผ่นพับ Factsheet (พร้อม Digital Files) VCD DVD เสื้อ หมวก เข็มกลัด ฯลฯ จำนวน 20 ชุด พร้อม Digital File
  2. รายงานผลการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ 1 ชุด พร้อม Digital Files นำส่งให้กับ สสส