Project Period: April 2012 – September 2012
Project Status: เสร็จสิ้นโครงการ
Principal Investigator: Orathai Ard-am
Researcher: Weeraya Dachphueng, Siriapa Aramruang
วัตถุประสงค์:
-
เพื่อศึกษาและรวบรวมองค์ความรู้ บทเรียน และประสบการณ์ในการเผชิญภัยพิบัติของกลุ่ม/องค์กร/หน่วยงาน/พื้นที่/เครือ ข่ายทั้งในประเทศและนานาประเทศ
ครอบคลุมประเด็น การป้องกัน การช่วยเหลือตนเอง การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และ การได้รับการสนับสนุน /ช่วยเหลือทางสังคมจากหน่วยงานต่าง ๆ -
เพื่อประเมินศักยภาพ ข้อจำกัดและปัญหา-อุปสรรคในการป้องกัน การช่วยเหลือบรรเทาทุกข์ การฟื้นฟู เยียวยา ของปัจเจกบุคคล ครอบครัว ชุมชน และองค์กรต่าง ๆ
ทั้งก่อน ระหว่างและภายหลังจากการเกิดภัยพิบัติ -
เพื่อ จัดทำระบบการช่วยเหลือทางสังคมในภาวะวิกฤตทางธรรมชาติที่ให้ความสำคัญ กับกลุ่มเปราะบาง ได้แก่ เด็กเล็ก สตรีมีครรภ์ ผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ป่วยเรื้อรัง
และครอบครัว/ชุมชนที่มีฐานะที่ยากลำบาก และไม่สามารถพึ่งพาตนเองได้เป็นกรณีพิเศษ ทั้งในระดับกระทรวง ฯ และระดับตำบล -
เพื่อ ทดลองหรือซักซ้อมระบบที่จัดทำขึ้น และ ประเมินความเหมาะสมของระบบ/เครื่องมือ /ชุดเครื่องมือ/คู่มือต่าง ๆ ที่พัฒนาหรือจัดทำขึ้นให้สอดคล้อง
กับปัญหาและความต้องการ - เพื่อเสริมศักยภาพของกระทรวงฯ ในเชิงหนุนเสริมกับบทบาทของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องกับการช่วยเหลือและการสนับสนุนทางสังคม.
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับของโครงการนี้
-
ระบบ การช่วยเหลือทางสังคมในภาวะวิกฤ๖ที่มีประสิทธิภาพ เพื่อใช้เป็นกลไลและเครื่องมือให้การคุ้มครองประชาชนที่ประสบปัญหาจากเหตุ ภัยพิบัติ ในมิติของ
การป้องกันการช่วยเหลือบรรเทาทุกข์ และการฟื้นฟูเยียวยา ตามสิทธิ ขั้นพื้นฐานที่ประชาชนพึงได้รับอย่างสมศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ -
ได้ ข้อเสนอเชิงนโยบายในการบริหารจัดการกับภาวะวิกฤตจากภัยพิบัติในมิติต่างๆ ที่สะท้อนจุดแข็ง จุดอ่อน ศักยภาพ ข้อจำกัดและปัญหาอุปสรรคในภาพรวม
ระดับประเทศ -
สา มาพัฒนาระบบช่วยเหลือทางสังคมในภาวะวิกฤต ไปสู่การช่วยเหลือผู้ประสบปัญหาจากภาวะวิกฤตอื่นๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากการที่ประเทศไทยเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
ในอนาคต
ผลผลิตของโครงการ
รายงาน ฉบับสมบูรณ์เรื่อง "การศึกษาและพัฒนาระบบการช่วยเหลือทางสังคมในภาวะวิกฤต"(Study and development of the social assistance system in crisis) พร้อม file ดิจิตอล (CD) อย่างละ 500 ชุด.