The long-term impact of diverse parental migration experiences on transition to adolescent: A case study of Thailand

The long-term impact of diverse parental migration experiences on transition to adolescent: A case study of Thailand

Principal Investigator: Aree Jampaklay

Project Period: September 2020 – March 2022

Objectives

  1. เพื่อค้นหาความสัมพันธ์ระหว่างประสบการณ์ในวัยเด็กที่มีพ่อแม่เป็นผู้ย้ายถิ่น ระหว่างประเทศ กับผลลัพธ์ทางด้านสุขภาวะ ความอยู่ดีมีสุข และพัฒนาการทางด้านการศึกษาในช่วงเติบโตเป็นวัยรุ่น ทั้งสุขภาพกาย สุขภาพจิต พฤติกรรมเสียง และผลสัมฤทธี้ทางการศึกษา โดยเปรียบเทียบกลุ่มเ ด็กวัยรุ่นชายและหญิง
  2. เพื่อศึกษาเปรียบเทียบผลลัพธ์ทางด้านสุขภาวะและความอยู่ดีมีสุขของเด็กวัยรุ่นที่เติบโตในครัวเรือนที่มีพ่อแม่ย้ายถิ่นหรือเคยย้ายถิ่นในช่วงเวลาที่แตกต่างกัน กับเด็กวัยรุ่นที่เติบโตในครัวเรือนที่พ่อแม่ไม่ได้ย้ายถิ่น
  3. เพื่อศึกษาเปรียบเทียบพัฒนาการทางด้านการศึกษา และ/หรือการเข้าสู่การทำงานของเด็กวัยรุ่นที่เติบโตในครัวเรือนที่มีพ่อแม่ย้ายถิ่นหรือเคยย้ายถิ่นในช่วงเวลาที่แตกต่างกันกับเด็กวัยรุ่นที่เติบโตในครัวเรือนที่พ่อแม่ไม่ได้ย้ายถิ่น

การศึกษานี้มีการวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อทำความเข้าใจผลกระทบในระยะยาวของการย้ายถิ่นของพ่อแม่ โดยศึกษาว่าประสบการณ์ที่มีพ่อแม่เป็นผู้ย้ายถิ่นระหว่างประเทศในช่วงก่อนปฐมวัยนั้นจะส่งผลต่อผลลัพธ์ทางด้านสุขภาวะเมื่อเติบโตเป็นวัยรุ่นหรือไม่ อย่างไร ทั้งในด้านสุขภาพกาย สุขภาพจิต พฤติกรรมเสี่ยงของเด็กวัยรุ่น รวมไปถึงพัฒนาการทางด้านการศึกษา และผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา โดยเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มเด็กวัยรุ่นชายและหญิง และเปรียบเทียบผลลัพธ์ทางด้านสุขภาวะ พัฒนาการทางด้านการศึกษา และ/หรือการเข้าสู่การทำงานของเด็กวัยรุ่นที่เติบโตในครัวเรือนที่มีพ่อแม่ย้ายถิ่นหรือเคยย้ายถิ่นกับเด็กวัยรุ่นที่เติบโตในครัวเรือนที่พ่อแม่ไม่ได้ย้ายถิ่นว่ามีความเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร

โครงการนี้ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ใช้วิธีการวิจัยเชิงปริมาณ โดยเก็บข้อมูลกลุ่มตัวอย่าง 3 กลุ่ม ได้แก่ (1) เด็กวัยรุ่นอายุ 16-18 ปี ที่เคยถูกสำรวจในโครงการวิจัยเรื่องการย้ายถิ่นข้ามชาติของพ่อแม่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กับสุขภาพของเด็กต้นทาง (CHAMPSEA) ใน พ.ศ. 2551 (ซึ่งขณะนั้นอายุ 3-5 ปี) (2) ผู้ปกครอง/ หัวหน้าครัวเรือน และ (3) ผู้ดูแลหลักของเด็กวัยรุ่นในกลุ่มที่ 1 โดยเก็บข้อมูลในพื้นที่จังหวัดอุดรธานี และจังหวัดลำปาง  มีกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 508 คน มีระยะเวลาในการดำเนินงานโครงการทั้งหมด 23 เดือน เริ่มตั้งแต่เดือนกันยายน 2563 ถึงเดือนกรกฎาคม 2565

เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา เป็นแบบสัมภาษณ์ จำนวน 3 ชุด ได้แก่ (1) แบบสัมภาษณ์ครัวเรือน สอบถามข้อมูลจากผู้ปกครอง/ผู้ดูแลเด็ก เกี่ยวกับสมาชิกที่อาศัยอยู่ในครัวเรือน การเปลี่ยนแปลงทางสภาวะเศรษฐกิจสังคมของครัวเรือน สถานภาพสมรส และประวัติการย้ายถิ่นฐานในช่วงเวลาที่ผ่านมา (2) แบบสัมภาษณ์สำหรับผู้ดูแล สอบถามผู้ปกครอง/ผู้ดูแลเด็กเป้าหมาย มีเนื้อหาในแบบสัมภาษณ์ คือ แบบประเมินสุขภาพจิตด้วยตนเอง (SRQ-20) ข้อมูลส่วนตัวของเด็กวัยรุ่นในด้านการศึกษา การเรียน การดำเนินชีวิตประจำวัน สุขภาพจิตของเด็ก และพฤติกรรมต่าง ๆ ความอยู่ดีมีสุขทั้งทางด้านร่างกาย และจิตใจ รวมไปถึงข้อมูลเกี่ยวกับการดูแลเลี้ยงดูเด็กวัยรุ่น และการสนับสนุนทางสังคม (3) แบบสัมภาษณ์วัยรุ่น สอบถามข้อมูลจากตัวของวัยรุ่นเป้าหมายเอง เกี่ยวกับข้อมูลด้านสุขภาพกาย ภาวะสุขภาพจิตซึ่งใช้แบบคัดกรองความเสี่ยงสำหรับเด็กวัยรุ่น ข้อมูลพฤติกรรมที่มีความเสี่ยงต่อสุขภาพ ข้อมูลด้านการศึกษา/การทำงาน ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการอยู่อาศัยในปัจจุบัน ความสัมพันธ์กับครอบครัวในวัยเด็ก การสร้างครอบครัวใหม่ของตนเอง และความปรารถนาของวัยรุ่นกลุ่มตัวอย่าง รวมถึงมุมมองเกี่ยวกับการย้ายถิ่น

ปัจจุบันโครงการนี้อยู่ระหว่างการเขียนรายงานผลการวิจัยฉบับสมบูรณ์ คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในเดือนมิถุนยาน 2565

Output

  1. ด้านนโยบาย: หน่วยงานภาครัฐ เช่น กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และหน่วยงานที่รับผิดชอบหรือเกี่ยวข้องโดยตรงกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ รวมทั้งกระทรวงศึกษาธิการซึ่งรับผิดชอบด้านการพัฒนาทรัพยากรเด็ก ให้เติบโตทั้งสติปัญญาและจิตสังคม และกระทรวงสาธารณสุฃที่สนับสนุนสุขภาวะของประชากรไทยได้ตระหนักเรียนรู้และสามารถใช้ประโยชน์จากผลการวิจัยโดยนำข้อมูลไปประกอบการวางแผนเชิง
    นโยบาย รวมทั้งการวางแผนการพัฒนามาตรการ/โครงการใหม่ๆ หรือปรับมาตรการ/โครงการต่าง ๆ ที่มีอยู่แล้วให้สอดคล้องกับสถานการณ์และข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น ภายใต้บริบทสังคมที่พ่อแม่ยังคงมีการย้ายถิ่นเพื่อ การทำงานและไม่สามารถเลี้ยงดูลูกด้วยตัวเองได้
  2. ด้านวิชาการ: งานวิจัยระยะยาวที่ช่วยสร้างเสริมความเข้าใจเกี่ยวกับผลกระทบของการย้ายถิ่นของพ่อแม่ที่เกิดขึ้นขณะที่ลูกยังอยู่ในวัยเด็กเล็ก ที่มีต่อสุขภาวะและสถานะทางเศรษฐกิจและสังคมเมื่อลูกเติบโตเป็นวัยรุ่นข้อค้นพบของการวิจัยจะเป็นหลักฐานสำคัญ ทั้งในแง่ประโยชน์และสิ่งที่เป็นความเสี่ยงต่อลูก ที่จะช่วยอธิบายความสัมพันธ์อันซับซ้อนระหว่างการย้ายถื่นกับการพัฒนา และจะเป็นกรณีศึกษาที่สำคัญสำหรับศึกษาเปรียบเทียบบริบทของแระเทศอื่นๆ ที่มีลักษณะทางเศรษฐกิจและการย้ายถื่นที่คล้ายคลึงกัน ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อวิชาการและทฤษฏีความรู้ในสาขาสหวิชาการของการศึกษาเกี่ยวกับการย้ายถิ่น/ การศึกษาระหว่างประเทศ
  3. ด้านสาธารณะ: สังคมทั่วไปให้ความสำคัญกับประเด็นการย้ายถิ่นของพ่อแม่กับลูก และครอบครัวในถิ่นต้นทาง และมีการขบคิด ถกเถียง และอภิปรายอย่างกว้างขวางมากขึ้น รวมทั้ง นักวิชาการในสหสาขาวิชาสามารถเรียนรู้เพื่อต่อยอดงานวิจัยให้เกิดประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรมต่อภาคประชาสังคมของประเทศต่อไป
  4. ด้านชุมชนและพื้นที่: ผู้ย้ายถิ่นและครอบครัวตระหนักในผลกระทบของการย้ายถิ่นที่อาจเกิดกับลูกและครอบครัวสามารถเตรียมรับมือกับ ความเปลี่ยนแปลง และผลกระทบที่จะตามมา โดยเฉพาะผู้ที่เป็นพ่อแม่ปู่ย่าตายาย และผู้ที่ดูแลเด็กเยาวชนได้ตระหนักถึงสถานการณ์และเรียนรู้ที่จะป้องกันความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับประชากรเด็กและเยาวชนที่เติบ โตในบริบทครอบครัวที่แตกต่างกัน