“ทุกคนมีเวลาเท่าเทียมกัน ทุกคนมี 24 ชั่วโมง ไม่มีใครมี 23 ไม่มีใครได้ 27 ทุกคนได้เท่ากัน แล้วภายใน 24 เราจะแบ่งประเภทการเคลื่อนไหวออกเป็น 3 ประเภท คือเรามีการเคลื่อนไหว เรียกว่า Physical Activity (กิจกรรมทางกาย) แล้วเราก็ไม่เคลื่อนไหว เรียกว่า Sedentary Behavior (พฤติกรรมเนือยนิ่ง) แล้วก็มีการนอนหลับอันนี้คือหลับจริงๆ ไม่ใช่นอนแต่ดูมือถือหรือดูทีวีอันนั้นถือเป็น Sedentary Behavior”
.
อาจารย์ ดร.นุชราภรณ์ เลี้ยงรื่นรมย์ สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล บรรยายเรื่อง “ประชากรไทยกับพฤติกรรมการเคลื่อนไหวตลอด 24 ชั่วโมง” ในการประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 18 “ประชากรและสังคม 2567” จัดโดยสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล เมื่อช่วงต้นเดือน ก.ค. 2567 ที่ผ่านมา อธิบายการใช้เวลาของมนุษย์ในแต่ละวัน โดยแบ่งกิจกรรมออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ๆ และคนคนหนึ่งจะมีสุขภาพเป็นอย่างไรก็ขึ้นอยู่กับการจัดสรรเวลาใน 3 กิจกรรมนี้
.
อ่านต่อได้ที่ https://www.naewna.com/likesara/817468
.
และได้เผยแพร่ผ่านหนังสือพิมพ์แนวหน้า หน้า 5 เมื่อวันเสาร์ที่ 20 ก.ค. 2567
หน้าเว็บหมวด “Likeสาระ”