“ฟัน”และการรับประทานอาหารของผู้สูงอายุชาวไทย

“ฟัน” เป็นอวัยวะสำคัญของร่างกายที่ใช้ในการเคี้ยวอาหาร หากฟันไม่พร้อมใช้งาน มีอาการเจ็บ ปวด หรือโยก การเคี้ยวอาหารของบุคคลนั้นก็ย่อมที่จะลดถอยลงไป ฟันจึงถูกนับเป็นปัจจัยของการบริโภคอาหารของงานวิจัยเกี่ยวกับการรับประทานอาหาร รวมไปถึงการวิเคราะห์สภาวะโภชนาการในหลายประเทศ เช่น ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา หรือสหราชอาณาจักร เนื่องจากการศึกษาที่ผ่านมาเป็นการศึกษาแบบติดตามในต่างประเทศเป็นส่วนใหญ่ จึงได้มีการศึกษาเกี่ยวกับ “สภาวะฟันชุดใช้งาน สารอาหารที่ได้รับ และสภาวะโภชนาการในผู้สูงอายุไทย” โดยสำรวจสภาวะช่องปาก รวมไปถึงสารอาหารที่ได้รับจากแบบสำรวจการรับประทานอาหาร และสภาวะโภชนาการ จำนวน 2 ครั้ง  เป็นการตรวจครั้งพื้นฐานและติดตามกลุ่มผู้เข้าร่วมงานวิจัยเป็นเวลา 12 เดือน เพื่อต้องการทราบว่าสารอาหารและกลุ่มอาหารที่ได้รับ มีบทบาทตัวกลางระหว่างสภาวะช่องปาก และสภาวะโภชนาการหรือไม่ เมื่อทำการวิเคราะห์ทางสถิติ พบว่า ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญของการเปลี่ยนแปลงสภาวะโภชนาการระหว่างกลุ่มที่มีชุดฟันใช้งานและไม่มีชุดฟันใช้งาน แต่มีการเปลี่ยนแปลงของสารอาหารที่ได้รับเพียงเล็กน้อยเมื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่ม และบทบาทตัวกลางของสารอาหารและกลุ่มอาหารนั้นยังไม่พบแน่ชัด จากการสำรวจดังกล่าวพบว่าสอดคล้องกับการศึกษาเกี่ยวกับเรื่องรับประทานอาหารรายงานว่า “ฟัน” ไม่ใช่เพียงปัจจัยเดียวที่เกี่ยวข้องกับการบริโภคอาหารเพียงอย่างเดียว แต่มีปัจจัยอื่นร่วมด้วย เช่น การเข้าถึงแหล่งอาหาร การปรับรูปแบบอาหารให้ง่ายต่อการรับประทาน และสภาพวัฒนธรรมการบริโภคอาหารในแต่ละพื้นที่ที่มีวิธีปรุงอาหารที่แตกต่างกัน

November 24, 2021