การพัฒนาต้นแบบปราชญ์หัตถศิลป์พื้นเมือง (ประเกือม) เพื่ออนุรักษ์ สืบสานมรดกภูมิปัญญาท้องถิ่นไทย

การพัฒนาต้นแบบปราชญ์หัตถศิลป์พื้นเมือง (ประเกือม) เพื่ออนุรักษ์ สืบสานมรดกภูมิปัญญาท้องถิ่นไทย

Abstract

การวิจัยเรื่องการพัฒนาต้นแบบปราชญ์หัตถศิลป์พื้นเมือง (ประเกือม) เพื่ออนุรักษ์สืบสานมรดกภูมิปัญญาท้องถิ่นไทย เป็นมิติคุณประโยชน์อย่างยิ่งในการเป็นนำเสนอภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่การบูรณาการมิติใหม่ๆ ซึ่งตรงตามแนวทางการพัฒนาของประเทศและวิจัยของชาติ โดยให้มองเห็นคุณค่าและคุณประโยชน์ของภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อเป็นการสร้างสร้างสรรค์งานศิลปะและคุ้มครองทรัพย์สินภูมิปัญญาท้องถิ่น เป็นกลไกนำไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจบนฐานภูมิปัญญาท้องถิ่นอย่างสร้างสรรค์ นำไปสู่สังคมแห่งฐานภูมิปัญญาของประเทศอย่างยั่งยืน  โดยมองถึงการพัฒนาเป็นต้นแบบของปราชญ์หัตถศิลป์พื้นเมืองเป็นการจำลองลักษณะปราชญ์ที่เป็นอัตลักษณ์วัฒนธรรมกลุ่มชาติพันธุ์ เป็นภาพจำลองเพื่อสร้างองค์ความรู้เชิงรูปแบบคุณลักษณะของปราชญ์ (ด้านทักษะ ความรู้ ความคิดสร้างสรรค์ ด้านปัญญา ด้านคุณธรรมจริยธรรม ด้านวัฒนธรรมความเชื่อ) และลักษณะเชิงสังคม (เชิงเศรษฐกิจ  เชิงสังคมและวัฒนธรรม)
 
ผู้วิจัยมีความสนใจอย่างยิ่งที่จะเสาะหาแก่นทางความคิด ทำความเข้าใจให้แจ่มแจ้งถึงเนื้อหาสาระองค์ความรู้ที่แท้จริงและทำการอนุรักษ์ไปสู่การสร้างต้นแบบปราชญ์หัตถศิลป์พื้นเมืองเครื่องประดับเงินเขมรโบราณ (ประเกือม) ที่เป็นรูปแบบในการสืบทอดความเป็นปราชญ์หัตถศิลป์พื้นเมืองบริบทสังคมไทย โดยโมเดลต้นแบบจำลองของปราชญ์หัตถศิลป์พื้นเมืองเครื่องประดับเงินเขมรโบราณ ซึ่งสามารถใช้เป็นรูปแบบในการพัฒนาต่อยอด/บูรณาการใช้ประโยชน์เชิงต่อยอดจากแนวคิดพัฒนาเป็นหลักสูตรเฉพาะทาง/สื่อการเรียนรู้/แบบฝึกอบรมเพื่อสืบทอดทักษะและภูมิปัญญาของปราชญ์ต่อกรมช่างศิลป์ กระทรวงวัฒนธรรม โรงเรียน วิทยาลัยชุมชน มหาวิทยาลัย กรมพัฒนาชุมชน สามารถพัฒนาต่อในศาสตร์ของหัตถศิลป์พื้นเมืองเพื่อการอนุรักษ์มรดกวัฒนธรรมภูมิปัญญาของชาติต่อไป
 
Moderator: นางสาวภัสสร มิ่งไธสง

February 5, 2020 Time: 12:30 – 13:30 hrs. Room Srabua (109)