โครงการพัฒนาแนวทางการดำเนินงานเพื่อให้เกิดการจัดการชุดข้อมูลทางสังคมและสุขภาพของประชาชน รายเขต กรุงเทพมหานคร

โครงการพัฒนาแนวทางการดำเนินงานเพื่อให้เกิดการจัดการชุดข้อมูลทางสังคมและสุขภาพของประชาชน รายเขต กรุงเทพมหานคร

ระยะเวลาดำเนินงาน: สิงหาคม 2562 – ตุลาคม 2563
สถานะ: กำลังดำเนินการ
หัวหน้าโครงการ: สุรีย์พร พันพึ่ง


นักวิจัย: นายแพทย์ ตะวันชัย จิรประมุขพิทักษ์, มาลี  สันภูวรรณ์, วิภาพร จารุเรืองไพศาล, แพรวนภา บาลนคร, ณัฐณิชา ลอยฟ้า, ศิรินันท์ กิตติสุขสถิต, วรรณี หุตะแพทย์, รัตนาพร อินทร์เพ็ญ

วัตถุประสงค์:

เนื่องจากกรุงเทพมหานคร มีการเปลี่ยนแปลงทางด้านสังคม เศรษกิจ สิ่งแวดล้อม ที่ส่งผลต่อสุขภาพของชาวกรุงเทพฯอย่างรวดเร็ว เช่นการระบาดและมาตรการป้องกันการระบาดของเชื้อโรคไวรัสโคโรนา (โควิด-19) ในขณะนี้

ในขณะที่ข้อมูลในการบริหารจัดการสุขภาวะของประชากรในกรุงเทพมหานคร มาจากสองแหล่งใหญ่ คือ 1) ข้อมูลที่มีการจัดเก็บเป็นประจำ (routine data) มีความต่อเนื่อง และเป็นปัจจุบัน สามารถนำมาวิเคราะห์แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงได้อย่างดี อย่างไรก็ตามพบมีความยากลำบากในการเชื่อมโยงหรือวิเคราะห์ข้อมูลจากหน่วยงานต่างๆ รวมทั้งข้อมูลเหล่านี้ยังมีข้อจำกัดทั้งเรื่องความซ้ำซ้อนและไม่ครบถ้วน ในเชิงพื้นที่และประเด็นที่สำคัญ และ 2) การสำรวจขนาดใหญ่ที่ดำเนินการเป็นประจำโดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ นั้นส่วนมากมีตัวอย่างที่เป็นตัวแทนของประชากรในระดับประเทศ ภาคและจังหวัดเท่านั้น ไม่สามารถนำไปใช้สำหรับวางแผนการทำงานในพื้นที่ระดับที่เล็กกว่าจังหวัดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในขณะนี้กรุงเทพมหานครยังขาดชุดข้อมูลที่แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของข้อมูลเชิงสังคมกับสุขภาพของผู้สูงอายุ ผู้ป่วยเรื้อรัง และผู้พิการ ในระดับเขต  
 
สถาบันวิจัยประชากรและสังคม ทำงานร่วมกับ กรุงเทพมหานคร และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ดำเนินการขับเคลื่อนเพื่อให้เกิดการ จัดทำชุดข้อมูลทางสังคมและสุขภาพ ในระดับเขต เพื่อใช้ประโยชน์การการวางแผนพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชากรได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยคาดว่าประชาชน จะได้รับการดูแลสุขภาพ พัฒนาคุณภาพชีวิตในระยะยาว และผู้สูงอายุ ผู้ป่วยเรื้อรัง ผู้พิการ จะได้รับความช่วยเหลือ และดูแลในสถานการณ์ที่อาจจะเกิดภัยพิบัติจากสาเหตุต่างๆได้อย่างเหมาะสม และภาครัฐใช้ชุดข้อมูลนี้สำหรับการกำหนดหรือติดตาม โครงการ/กิจกรรม เพื่อแก้ไขปัญหาด้านสุขภาพ สังคม สิ่งแวดล้อม ในประชากรกลุ่มเป้าหมายได้อย่างต่อเนื่องต่อไป 
 
การจัดทำชุดข้อมูลทางสังคมและสุขภาพใน13 เขตของกรุงเทพมหานคร ประกอบด้วย เขตห้วยขวาง ราชเทวี บางนา บางรัก ลาดพร้าว ดอนเมือง ประเวศ หนองจอก เขตธนบุรี ทวีวัฒนา บางแค บางบอน และ บางพลัด (ตามภาพ) คาดว่าจะแล้วเสร็จประมาณเดือนธันวาคม 2563  
 
โครงการจะทำการวิเคราะห์และคืนข้อมูลด้านสังคมและสุขภาพให้กับแต่ละเขตพื้นที่ศึกษาและร่วมขับเคลื่อนให้เกิดการขยายการจัดทำชุดข้อมูลทางสังคมและสุขภาพในทุกเขต (50 เขต) ของกรุงเทพมหานคร โดยแกนนำและเครือข่ายในระดับ กรุงเทพมหานคร เขต และชุมชนจัดตั้งของกรุงเทพมหานคร 
การพัฒนาแนวทางการดำเนินงานเพื่อให้เกิดการจัดการชุดข้อมูลทางสังคมและสุขภาพของประชาชน รายเขต กรุงเทพมหานคร

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

  1. ชุมชนตระหนักถึงความสำคัญของข้อมูล และมีศักยภาพในการขับเคลื่อน เพื่อขยายผลให้เกิดการสำรวจข้อมูลด้านสังคมและสุขภาะในระดับเขต ของกรุงเทพมหานคร

ผลผลิตที่คาดว่าจะได้รับ

  1. เกิดความร่วมมือในการทำงานระหว่างผู้บริหารของ กทม. ในระดับท้องถิ่น ผู้นำชุมชน และ ประชาชนในพื้นที่ ที่จะช่วยกันขับเคลื่อนให้เกิดการจัดทำชุดข้อมูลด้านสังคมและสุขภาะ ที่สอดคล้องกับปัญหาและความต้องการของชุมชน ในระดับเขต ของกรุงเทพมหานคร
  2. เจ้าหน้าที่ กทม. ในระดับท้องถิ่น(13 เขต นำร่อง) มีศักยภาพ ที่จะเป็นผู้นำ การสำรวจเพื่อรวบรวมข้อมูลที่สอดคล้องกับปัญหาและความต้องการของชุมชน ให้กับเขตอื่นๆ ที่เหลืออีก 37 เขต ของ กรุงเทพมหานคร

ผลการสำรวจ รายเขตและชุมชน

รายละเอียดผลการสำรวจข้อมูลด้านสังคมและสุขภาพ โครงการ“การพัฒนาแนวทางการดำเนินงานเพื่อให้เกิดการจัดการชุดข้อมูลทางสังคมและสุขภาพของประชาชน รายเขต กรุงเทพมหานคร” แบ่งเป็น 2 ส่วนที่สำคัญ คือ ข้อมูลระดับครัวเรือน และข้อมูลผู้สูงอายุ

โดยแสดงการเชื่อมโยงข้อมูลในระดับเขต และ ชุมชนจัดตั้งของกรุงเทพมหานคร ที่เป็นตัวอย่างของการศึกษานี้
1. เปรียบเทียบข้อมูลในเขตที่ต้องการศึกษา กับ ผลการสำรวจใน ภาพรวมของ 13 เขตนำร่อง
2. ในแต่ละเขต มีการนำเสนอข้อมูลระดับชุมชน

Download รายงานวิจัย

การพัฒนาแนวทางการดำเนินงานเพื่อให้เกิดการจัดการ ชุดข้อมูลทางสังคมและสุขภาพของประชาชน รายเขตกรุงเทพมหานคร

ท่านสามารถเลือกอ่านผ่าน e-book 

 

ข้อมูลระดับครัวเรือน

แสดงจำนวนและเฉลี่ยต่อครัวเรือนของสมาชิกที่อยู่ประจำ จำนวนผู้สูงอายุ จำนวนผู้ป่วยเรื้อรัง/ผู้พิการ และสมาชิกไม่มีชื่อในทะเบียนบ้าน การกระจายของครัวเรือน จำแนกตามรายได้และเศรษฐกิจ การจัดการขยะ และสภาพแวดล้อมของครัวเรือนที่เหมาะสมกับการอยู่อาศัยของผู้สูงอายุ

ข้อมูลผู้สูงอายุ

แสดงการกระจายของผู้สูงอายุอาศัยในครัวเรือนที่ตกเป็นตัวอย่างทุกคน ในประเด็นต่างๆ ประกอบด้วย ร้อยละของผู้สูงอายุจำแนกตามอายุ การอยู่อาศัย การทำงาน ความต้องการทำงาน การได้รับสวัสดิการของรัฐบาล ความเพียงพอของรายได้ตนเอง ภาวะพึ่งพิง โรคเรื้อรังที่พบมาก ลักษณะความบกพร่องหรือความพิการ ความเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพจิต สิทธิหลักประกันสุขภาพ ร้อยละของผู้สูงอายุที่หยุด/ไม่ได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง ร้อยละของผู้สูงอายุจำแนกตามสถานรับบริการสุขภาพหลัก และการออกกำลังกาย

VDO

การรวบรวมข้อมูลภาพสนาม

การสร้างเสริมศักยภาพภาคีเครือข่าย

ผลงานผ่าน Prachakorn Forum EP.7 | สูงวัยในเมืองหลวง

ออกอากาศเมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2563 ผ่าน Facebook: The Prachakorn


ติดตามผลงาน Prachakorn Forum เพิ่มเติมได้ที่

เว็บไซต์ IPSR: https://ipsr.mahidol.ac.th/
เว็บไซต์ The Prachakorn: https://theprachakorn.com/

Facebook: The Prachakorn 
Instagram: ThePrachakorn
Line Official: @ThePrachakorn (https://lin.ee/0mxoQUH)