โครงการพัฒนาศูนย์พัฒนาองค์ความรู้ด้านกิจกรรมทางกายประเทศไทย (ทีแพค) พ.ศ. สองพันห้าร้อยหกสิบสี่

โครงการพัฒนาศูนย์พัฒนาองค์ความรู้ด้านกิจกรรมทางกายประเทศไทย (ทีแพค) พ.ศ. สองพันห้าร้อยหกสิบสี่

ระยะเวลาดำเนินงาน: กุมภาพันธ์ 2564 – มกราคม 2565
สถานะ: กำลังดำเนินการ
หัวหน้าโครงการ: ปิยวัฒน์ เกตุวงศา


นักวิจัย: ชุติมา  อยู่สมบูรณ์, ปัญญา ชูเลิศ, ณรากร วงษ์สิงห์, กรกนก  พงษ์ประดิษฐ์

วัตถุประสงค์:

  1. พัฒนาผลผลิตทางวิชาการในลักษณะต่างๆ เพื่อนำไปสู่การสนับสนุนนโยบายด้านการส่งเสริมกิจกรรมทางกายและสุขภาวะชองประชากรไทยของ สสส. และภาคีเชิงยุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง
  2. สร้างกลไกกลางในการสนับสนุนและดำเนินกิจกรรมการเชื่อมประสานการทำงานระหว่างภาคีที่ทำงานด้านการส่งเสริมกิจกรรมทางกฺายในระดับชาติและนานาชาติอันจะสนับสนุนกระบวนการทำงานด้านการส่งเสริมกิจกรรมทางกายของประชากรไทยในมิติต่างๆให์เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ตรงตามเป้าหมาย

ประโยชน์

  1. พัฒนาองค์ความรู้ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องด้านกิจกรรมทางกายเพื่อใช้ในประกอบการจัดทำแผนและแนวทางในการขับเคลื่อนนโยบายด้านการส่งเสริมกิจกรรมทางกายของประซากรไทย
  2. เชื่อมประสานภาคีทำงานด้านกิจกรรมทางกายตลอดจนวิเคราะห์ประเด็น และโจทย์การวิจัยเพื่อสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมส่งเสริมกิจกรรมทางกาย
  3. พัฒนาฐานข้อมูลเครื่องมือรวบรวมข้อมูลทางสังคม การติดตาม และประเมินผล ตลอดจนการวิเคราะห์แนวโน้ม ด้านกิจกรรมทางกายที่มีมาตรฐานทางวิชาการระดับสากล เพื่อประโยชน์ในการวิเคราะห์และศึกษาเปรียบเทียบ ตลอดจนเฝ้าระวังกิจกรรมทางกาย
  4. เผยแพร่ผลผลิตทางวิชาการ ตลอดจนนวัตกรรมทางด้านสังคมศาสตร์ที่มีคุณ ภาพสูงเพื่อสนับสนุนการส่งเสริมกิจกรรมทางกายของคนไทยทุกช่วงวัย

ผลผลิต

  1. การเสริมความเข้มแข็งของระบบสนับสนุนทางวิชาการด้านการส่งเสริมกิจกรรมทางกายให้สามารถพัฒนาและผลิตองค์ความรู้ที่มีคุณภาพมาตรฐานที่มีความเท่าทันต่อสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงของสังคม รวมถีงมีบทบาทในการช่วยสนับสนุนการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะบนฐานขององค์ความรู้
  2. เสริมศักยภาพของภาคีเครือข่ายที่ทำงานด้านการส่งเสริม กิจกรรมทางกายในประเทศไทย ให้เกิดการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ ระเบียบวิธีแนวทางการทำงาน ตลอดจนร่วมกันกำหนดเป้าหมายและทิศทางการทำงานที่มีความสอดคล้องกับเป้าหมายการทำงานในระดับประเทศและระดับสากล รวมถึงเกิดการเชื่อมต่อการทำงานในระดับเครือข่ายระหว่างภาคีทำงานระหว่างประเทศ
  3. เกิดฐานข้อมูลเชิงบูรณาการที่นำไปสู่การวิเคราะห์และออกแบบนโยบายที่มีความครอบคลุมและตรงประเด็นตามโจทย์และป้ญหาที่เกิดขึ้นในเฉพาะสถานการณ์ หรือกลุ่มประชากร ซึ่งจะช่วยให้การสื่อสารเพื่อสร้างการรับรู้การรณรงค์ของนโยบายเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น