โครงการผลการออกแบบสถาปัตยกรรมและการมีโครงสร้างพื้นฐานสิ่งแวดล้อมเพื่อสุขภาพต่อการออกกำลังกายและล่นกีฬาเพื่อสุขภาพของประชากรไทย

โครงการผลการออกแบบสถาปัตยกรรมและการมีโครงสร้างพื้นฐานสิ่งแวดล้อมเพื่อสุขภาพต่อการออกกำลังกายและล่นกีฬาเพื่อสุขภาพของประชากรไทย

ระยะเวลาดำเนินงาน:
สถานะ: เสร็จสิ้นโครงการ
หัวหน้าโครงการ: โยธิน แสวงดี


นักวิจัย: ปิยวัฒน์ เกตุวงศา, ชุติมา  อยู่สมบูรณ์

วัตถุประสงค์:

1. เพื่อสำรวจและประเมินสถานะของภาคีเครือข่ายในด้านการทำงานทางสถาปัตยกรรมและโครงสร้างพื้นฐานเพื่อการออกกลังกายและเล่นกีฬาเพื่อสุขภาพในด้านการกำหนดให้มีพื้นที่เพื่อสุขภาพ (Hhealthy space)
2. เพื่อพิสูจน์และวิเคราะห์ในเชิงเปรียบเทียบว่าการมีพื้นที่เพื่อสุขภาพ (Healthy Space) ที่โครงการจัดสรรต่าง ๆ ในชุมชน และในหน่วยงานที่จัดให้มี มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงเรื่องพฤติกรรมทางกาย (Physical Activity) อาทิ การออกกำลังกายและเล่นกีฬาเพื่อสุขภาพของประชาชนในพื้นที่ และของพนักงานในหน่วยงาน และสามารถลดผลกระทบทางสุขภาพได้ ทั้งในด้านโอกาสเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยด้วยโรคไร้เชื้อและโรคติดเชื้อเนื่องจากร่างกายแข็งแรงและการออกกำลังกาย ตลอดจนการปฎิบัติตามหลักการของกิจกรรมทางกายจะนำไปสู่การลดพฤติกรรมเสี่ยงจากโรคติดเชื้อ เช่น การดื่มสุรา การใช้ยาเสพติด ฯลฯ เนื่องจากหากมีการทำกิจกรรมทางกายจะทำให้ไม่สนใจในอบายมุขที่เป็นสาเหตุนำไปสู่พฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมข้างตน
3. เพื่อค้นหาองค์ความรู้ที่จะนำไปสู่การพัฒนาเครื่องมือสำหรับใช้ชี้วัดผลการดำเนินงานด้านการมีพื้นที่เพื่อสุขภาพ (Healthy Space) กับผลลัพธ์ด้านสุขภาพ.
1. ข้อค้นพบจากการวิจัยนี้จะเป็นประโยชน์อย่างยางสำหรับการชี้นำเพื่อเสนอแนะให้ทั้งองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน ตลอดจนผู้นำชุมชนและผู้บริหารท้องถิ่นให้นำไปใช้ในการปรับภูมิทัศน์เพื่อจัดให้มีสถานที่ที่เหมาะสมสำหรับการออกกำลังกายและเล่นกีฬาเพื่อสุขภาพ ที่เน้นพื้นที่สุขภาพ (Healthy space) เป็นการสร้างรรยากาศทั้งภายนอกอาคาร (Outdoor) และภายในอาคาร (Indoor)  ที่เป็นแรงจูงใจที่สำคัญยิ่งที่จะสนับสนุนเพื่อให้เกิดพื้นที่ต่างๆ ทั้งที่เป็นสาธารณะและส่วนบุคคลที่จะนำมาสู่การออกกำลังกายและเล่นกีฬาอย่างเหมาะสม
2. ประเด็นสำคัญที่เป็นข้อมูลฐาน ทั้งในด้านกลยุทธ์ กระบวนการ ขั้นตอน ตลอดจนวิธีการที่ภาคีและภาคส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในการสร้างให้เกิดโครงสร้างพื้นฐานเพื่อสุขภาพที่คาดว่าจะมีผลนำไปสู่การลดต้นทุนในการรักษาพยาบาลทั้งในระดับมหภาคและระดับจุลภาคในระยะยาว ที่จะก่อประโยชน์อย่างยิ่งในการสร้างความมั่นใจสำหรับผู้บริหารประเทศ และผู้บริหารท้องถิ่น ตลอดจนผู้บริหารองค์กรฯ ที่จะสนับสนุนให้มีการดำเนินการเพื่อกำหนดให้มีการปรับและสร้างภูมิทัศน์และโครงสร้างพื้นฐานเพื่อสุขภาพ (Healthy space) นั้นๆ
3. ได้เครื่องมือที่เป็นแบบสำรวจมาตรฐาน อันประกอบด้วยดัชนี หรือตัวชี้วัด ตลอดจนประเด็นที่สำคัญต่างๆ ในด้านเนื้อหา ฯลฯ สำหรับใช้ชี้วัดและประเมินผลการดำเนินการมีพื้นที่เพื่อสุขภาพ (Healthy space) กับผลลัพธ์ด้านสุขภาพ ที่จะครอบคลุมถึงดัชนี หรือ ตัวชี้วัดทางสุขภาพทางกาย สุขภาพทางจิตใจและอารมณ์ ตลอดจนสุขภาพทางสังคม เช่น การมีเครือข่ายทางสังคมด้านสุขภาพ เป็นต้น.
 
ผลผลิตของโครงการนี้ :
1. สื่อที่โครงการผลิต เช่น หนังสือ วารสาร บทความ แผ่นพับ Factsheet (พร้อม Digital Files) VCD DVD เสื้อ หมวก เข็มกลัด ฯลฯ จำนวน 20 ชุด พร้อม Digital Files 
2. รายงานผลการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ 1 ชุด พร้อม Digital Files นำส่งให้กับ สสส.