ปัจจัยหนุนและอุปสรรคต่อการได้รับการรับรองจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ของโครงการวิจัยในแต่ละคณะและสถาบัน: กรณีศึกษาคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัย สถาบันวิจัยประชากรและสังคม  มหาวิทยาลัยมหิดล

ปัจจัยหนุนและอุปสรรคต่อการได้รับการรับรองจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ของโครงการวิจัยในแต่ละคณะและสถาบัน: กรณีศึกษาคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัย สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล

หัวหน้าโครงการ: ดวงวิไล ไทยแท้

ระยะเวลา: ตุลาคม 2565 – กรกฎาคม 2566

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อวิเคราะห์ลักษณะของโครงการวิจัยที่ผ่านการรับรองจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์จากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัย สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล จำแนกตามคณะ/สถาบันของผู้ยื่นโครงการวิจัยรวมถึงวิเคราะห์ผลการประเมินในแต่ละด้านของโครงการวิจัย
  2. เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยเอื้อและอุปสรรคต่อความสำเร็จของผู้วิจัยในแต่ละคณะ/สถาบัน ที่มาขอการรับรองจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์จากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัย สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล และเปรียบเทียบความเหมือนและความแตกต่างของปัจจัยเอื้อและอุปสรรคต่อความสำเร็จของผู้วิจัยในแต่ละคณะ/สถาบัน

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

  • ใช้เป็นแนวทางในการสนับสนุนผู้วิจัยให้ประสบความสำเร็จในการขอรับรองจริยธรรมการวิจัย และสามารถดำเนินการวิจัยตามกรอบเวลาที่เสนอไว้ได้
  • ช่วยลดระยะเวลาการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ในการดูแลโครงการวิจัยที่ยังไม่ผ่านการรับรอง
  • ช่วยลดการใช้ทรัพยากรอื่น ๆ ที่ต้องใช้สนับสนุนกระบวนการพิจารณาโครงการวิจัย เช่น เวลา กำลังคน งบประมาณ สาธารณูปโภค และพลังงาน