การศึกษาวิเคราะห์เพื่อจัดทำร่างต้นแบบการจัดการฐานข้อมูลด้านการคุ้มครองเด็กของประเทศไทย

การศึกษาวิเคราะห์เพื่อจัดทำร่างต้นแบบการจัดการฐานข้อมูลด้านการคุ้มครองเด็กของประเทศไทย

ระยะเวลาดำเนินงาน: มกราคม – กันยายน 2558
สถานะ: กำลังดำเนินการ
หัวหน้าโครงการ: อมรา สุนทรธาดา


นักวิจัย: กมลชนก ขำสุวรรณ

วัตถุประสงค์:

1. เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ระบบการขึ้นทะเบียนการคุ้มครองเด็ก สำหรับจัดทำร่างต้นแบบระบบการขึ้นทะเบียนการคุ้มครองเด็กที่เหมาะสมกับประเทศไทยและง่ายต่อการใช้งาน ด้วยระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่สมาร์ทโฟน 
2. เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ระบบฐานข้อมูลพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 ที่มีอยู่ปัจจุบัน สำหรับจัดทำร่างต้นแบบระบบฐานข้อมูลพนักงานเจ้าหน้าที่ฯ ที่ผู้ใช้สามารถเข้าถึงได้ง่าย 
3) เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลสถานการณ์ด้านเด็ก สำหรับจัดทำร่างต้นแบบระบบรายงานข้อมูลสารสนเทศให้อยู่ในรูปแบบที่ง่ายต่อการนำไปใช้งาน และนำเสนอข้อมูลด้านสถานการณ์เด็กเพื่อการจัดการในระบบภูมิสารสนเทศ ที่ผู้ใช้สามารถเข้าถึงได้ง่ายผ่านระบบอินเตอร์เน็ต และระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่สมาร์ทโฟน 

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

ประโยชน์ที่เกิดขึ้นร่วมกันแก่ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ทั้งสังคม หน่วยงานรัฐ องค์กรปกครองท้องถิ่น โรงเรียน วัด และนักวิชาการ 
ระดับประเทศ 
 
โครงการวิจัยนี้ ให้ผลผลิตด้านฐานข้อมูลเกี่ยวกับระบบการขึ้นทะเบียนการคุ้มครองเด็ก (Child Protection Registration System) และระบบฐานข้อมูลพนักงานเจ้าหน้าที่ ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 ที่เป็นมาตรฐาน และผู้ใช้สามารถเข้าถึงได้ง่ายโดยผ่านโทรศัพท์มือถือ ให้ประโยชน์แก่หน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งในด้านการพัฒนานโยบายและการปฏิบัติงาน เพื่อให้การจัดการกับปัญหาด้านเด็กและเยาวชนเป็นไปด้วยความรวดเร็ว และรองรับปัญหาสถานการณ์ด้านเด็กในระดับภูมิภาคอาเซียนในอนาคตตลอดจนพัฒนากระบวนการขับเคลื่อนหรือพัฒนางานที่ได้ดำเนินการไปแล้ว หรือคาดว่าจะดำเนินการในอนาคต เพื่อลดความเสี่ยงและป้องกันความรุนแรงที่จะเกิดขึ้นกับเด็กและเยาวชน รวมทั้งกำหนดมาตรการในการเพิ่มขีดความสามารถของผู้ดูแลและนักวิชาชีพ การรับรองคุณสมบัติ ตลอดจน การติดตามและประเมินผลแผนงานด้านการคุ้มครองและพัฒนาเด็กและเยาวชน เพื่อให้การขับเคลื่อนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพระดับภูมิภาค 
 
ระบบฐานข้อมูลด้านการคุ้มครองเด็กของประเทศไทย จะเป็นระบบสารสนเทศที่มีข้อมูลทั้งระดับประเทศและระดับจังหวัดที่ทันสมัยและเป็นปัจจุบัน ทำให้สามารถนำข้อมูลไปสนับสนุนการตัดสินใจของผู้บริหาร และบุคลากรในระดับต่างๆ การจัดสรรทรัพยากรและงบประมาณในการดำเนินงานด้านการคุ้มครองเด็ก โดยการนำข้อมูลเชิงสถิติที่พัฒนาเป็นระบบสารสนเทศด้านสถานการณ์เด็กและเยาวชน รายจังหวัด ไปใช้ในการในการวางแผนหรือการป้องกันปัญหา การเฝ้าระวังเตือนภัย ในระดับจังหวัด 
 
ผลผลิตของโครงการ
 
รายงานการศึกษาวิเคราะห์ฉบับสมบูรณ์ เรื่อง “การศึกษาวิเคราะห์เพื่อจัดทำร่างต้นแบบการจัดการฐานข้อมูลด้านการคุ้มครองเด็กของประเทศไทย”  (Analytical Study of Prototype for Child Protection Data Base Management) จำนวน 1 ฉบับ