ที่จอดรถในพื้นที่สาธารณะ: สำรวจ – โอกาส – ความท้าทาย

Abstract

ที่จอดรถในพื้นที่สาธารณะของเมืองและการจัดสรรพื้นที่จอดรถ ถือเป็นประเด็นสำคัญและอยู่ในความรับผิดชอบขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และถือเป็นทรัพยากรร่วม (communal ownership) โดยปัจจุบันการจอดรถริมถนนหรือบนผิวถนน (on-street parking หรือ curb parking) ของประเทศไทยส่วนใหญ่เป็นระบบมาก่อนได้ก่อน (first-come, first-served) มากกว่าจะเป็นการจัดสรรตามความพึงพอใจจ่าย (willingness to pay) เมื่อที่จอดรถไม่มีมูลค่าตลาดที่เหมาะสม จึงนำไปสู่ปัญหาของใช้ทรัพยากรร่วมที่มากเกินไป (tragedy of the commons) เช่น การวนหาที่จอดรถ (cruising for parking) และการจอดรถในที่ห้ามจอด เมื่อประกอบกับการบังคับใช้กฎหมายที่ไม่ชัดเจน พฤติกรรมดังกล่าวจึงส่งผลต่อปริมาณการจราจร ระยะเวลาการเดินทาง และมลภาวะทางอากาศที่เพิ่มขึ้น การสร้างระบบจัดการการใช้พื้นที่จอดรถ เพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตของประชาชนที่อาศัยอยู่ในเมือง จำเป็นต้องอาศัยการเก็บข้อมูลที่เหมาะสม และสะท้อนสถานะที่แท้จริงของพฤติกรรมการใช้รถยนต์ ที่อาจแตกต่างไปในแต่ละเมืองย่านเศรษฐกิจ และเวลา แม้ว่าปัจจุบันประเทศไทยมีพระราชบัญญัติจัดระเบียบการจอดรถในเขตองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2562 ที่กำหนดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีอำนาจตราข้อบัญญัติท้องถิ่นในการกำหนดประเภทรถและจัดให้มีที่จอดรถในเขตทางหลวงหรือในที่สาธารณะสำหรับรถแต่ละชนิดหรือประเภท กำหนดระเบียบการจอดรถในที่จอดรถ กำหนดระยะเวลา ระยะเวลาที่ต้องเสียค่าธรรมเนียม อัตราค่าธรรมเนียม โดยผู้บริหารท้องถิ่น มีอำนาจหน้าที่ในการควบคุมการจอดรถในที่จอดรถให้เป็นไปตามระเบียบ ซึ่งตัวชี้วัดผลสัมฤทธิ์ของกฎหมายได้เปิดโอกาสให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถดำเนินการจัดเก็บอัตราค่าจอดรถได้ตามความเหมาะสม เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนในท้องถิ่น

Moderator: Napaphat Satchanawakul

ชมย้อนหลังได้ที่

Facebook Watch: https://fb.watch/v/3R-8sedJ2/

ติดตามข่าวสารเกี่ยวกับสถาบันวิจัยประชากรและสังคมได้ที่

Website : www.ipsr.mahidol.ac.th
Facebook : IPSRMAHIDOLUNIVERSITY

July 21, 2021