ข้อค้นพบการตีตราทางสังคมของผู้รับการบำบัดสารเสพติด: กรณีศึกษาในโครงการบริการเมทาโดนฐานชุมชนแห่งหนึ่ง

ข้อค้นพบการตีตราทางสังคมของผู้รับการบำบัดสารเสพติด: กรณีศึกษาในโครงการบริการเมทาโดนฐานชุมชนแห่งหนึ่ง

บทคัดย่อ

ผู้ใช้ยาเสพติดที่เข้ารับบริการบำบัดมีความคาดหวังว่าจะได้รับการต้อนรับและกลับเข้าเป็นส่วนหนึ่งของสังคมแต่ยังคงมีเหตุการณ์ที่ถูกตีตราและเลือกปฏิบัติเกิดขึ้นอยู่ ดังนั้นงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบความรุนแรงและพิสูจน์ลักษณะการตีตราทั้ง 3 ลักษณะคือ 1) การตีตราและเลือกปฏิบัติที่คาดว่าจะเกิด 2) การตีตราตนเองและ 3) การเผชิญสถานการณ์ที่ถูกตีตรา โดยมีคำถามงานวิจัย คือ 1) การตีตราทั้ง 3 ลักษณะที่เกิดขึ้นจะมีองค์ประกอบอะไรบ้าง และ 2) ในแต่ละลักษณะของการตีตรา องค์ประกอบใดมีความรุนแรงที่สุด ผลการศึกษาด้วยการวิเคราะห์ปัจจัย (Factor Analysis)โดยใช้วิธีการ Rotation แบบ Varimax พบว่ามีครบทุกลักษณะและหลายด้วยกัน กล่าวคือ ลักษณะที่ 1 “การกลัวการถูกดุด่าว่ากล่าวจากชุมชน”เป็นรูปแบบที่รุนแรงที่สุด (68.9%) ลักษณะที่ 2 “การมีความคิดที่ไม่ต้องการพบปะผู้คนหรือเข้าสังคม” (54.1%) และลักษณะที่ 3 “การเผชิญสถานการณ์ที่ถูกชุมชนดุด่าดูถูกเหยียดหยาม”(50%)
            การตีตราและเลือกปฏิบัติยังคงมีให้เห็นในสังคมโดยคนบางกลุ่มจะถูกทำให้แปลกแยกกลายเป็นอื่นจากสังคมนั้นๆ แม้ว่าพวกเขาจะอยู่ในกระบวนการบำบัดรักษาการถอนพิษยาเสพติดอนุพันธ์ฝิ่นซึ่งถือได้ว่าเป็นวิธีการรักษาสุขภาพและสร้างภาพลักษณ์ใหม่ก็ตาม ดังนั้นการที่จะแก้ไขปัญหาที่สืบเนื่องมาจากการตีตราจะต้องบูรณาการด้วยการนำปัจจัยทางสังคมชุมชนและตัวผู้บำบัดรวมทั้งด้านจิตวิทยามาร่วมในการแก้ไขปัญหาให้ตรงประเด็น

 ผู้ดำเนินรายการ : อาจารย์ ดร.ดุสิตา พึ่งสำราญ

July 6, 2016 Time: 12:30 – 13:30 hrs. Room Srabua 109