The Design, architecture and infrastructure  Environmental health  to exercise and sports for the Thai population

The Design, architecture and infrastructure Environmental health to exercise and sports for the Thai population

Project Period: October 2011 – December 2012
Project Status: เสร็จสิ้นโครงการ
Principal Investigator: Yothin Sawangdee


Researcher: Piyawat  Katewongsa, Chutima Yousomboon


วัตถุประสงค์:

1. เพื่อสำรวจและประเมินสถานะของภาคีเครือข่ายในด้านการทำงานทางสถาปัตยกรรมและโครงสร้างพื้นฐานเพื่อการออกกลังกายและเล่นกีฬาเพื่อสุขภาพในด้านการกำหนดให้มีพื้นที่เพื่อสุขภาพ (Hhealthy space)
2. เพื่อพิสูจน์และวิเคราะห์ในเชิงเปรียบเทียบว่าการมีพื้นที่เพื่อสุขภาพ (Healthy Space) ที่โครงการจัดสรรต่าง ๆ ในชุมชน และในหน่วยงานที่จัดให้มี มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงเรื่องพฤติกรรมทางกาย (Physical Activity) อาทิ การออกกำลังกายและเล่นกีฬาเพื่อสุขภาพของประชาชนในพื้นที่ และของพนักงานในหน่วยงาน และสามารถลดผลกระทบทางสุขภาพได้ ทั้งในด้านโอกาสเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยด้วยโรคไร้เชื้อและโรคติดเชื้อเนื่องจากร่างกายแข็งแรงและการออกกำลังกาย ตลอดจนการปฎิบัติตามหลักการของกิจกรรมทางกายจะนำไปสู่การลดพฤติกรรมเสี่ยงจากโรคติดเชื้อ เช่น การดื่มสุรา การใช้ยาเสพติด ฯลฯ เนื่องจากหากมีการทำกิจกรรมทางกายจะทำให้ไม่สนใจในอบายมุขที่เป็นสาเหตุนำไปสู่พฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมข้างตน
3. เพื่อค้นหาองค์ความรู้ที่จะนำไปสู่การพัฒนาเครื่องมือสำหรับใช้ชี้วัดผลการดำเนินงานด้านการมีพื้นที่เพื่อสุขภาพ (Healthy Space) กับผลลัพธ์ด้านสุขภาพ.
1. ข้อค้นพบจากการวิจัยนี้จะเป็นประโยชน์อย่างยางสำหรับการชี้นำเพื่อเสนอแนะให้ทั้งองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน ตลอดจนผู้นำชุมชนและผู้บริหารท้องถิ่นให้นำไปใช้ในการปรับภูมิทัศน์เพื่อจัดให้มีสถานที่ที่เหมาะสมสำหรับการออกกำลังกายและเล่นกีฬาเพื่อสุขภาพ ที่เน้นพื้นที่สุขภาพ (Healthy space) เป็นการสร้างรรยากาศทั้งภายนอกอาคาร (Outdoor) และภายในอาคาร (Indoor)  ที่เป็นแรงจูงใจที่สำคัญยิ่งที่จะสนับสนุนเพื่อให้เกิดพื้นที่ต่างๆ ทั้งที่เป็นสาธารณะและส่วนบุคคลที่จะนำมาสู่การออกกำลังกายและเล่นกีฬาอย่างเหมาะสม
2. ประเด็นสำคัญที่เป็นข้อมูลฐาน ทั้งในด้านกลยุทธ์ กระบวนการ ขั้นตอน ตลอดจนวิธีการที่ภาคีและภาคส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในการสร้างให้เกิดโครงสร้างพื้นฐานเพื่อสุขภาพที่คาดว่าจะมีผลนำไปสู่การลดต้นทุนในการรักษาพยาบาลทั้งในระดับมหภาคและระดับจุลภาคในระยะยาว ที่จะก่อประโยชน์อย่างยิ่งในการสร้างความมั่นใจสำหรับผู้บริหารประเทศ และผู้บริหารท้องถิ่น ตลอดจนผู้บริหารองค์กรฯ ที่จะสนับสนุนให้มีการดำเนินการเพื่อกำหนดให้มีการปรับและสร้างภูมิทัศน์และโครงสร้างพื้นฐานเพื่อสุขภาพ (Healthy space) นั้นๆ
3. ได้เครื่องมือที่เป็นแบบสำรวจมาตรฐาน อันประกอบด้วยดัชนี หรือตัวชี้วัด ตลอดจนประเด็นที่สำคัญต่างๆ ในด้านเนื้อหา ฯลฯ สำหรับใช้ชี้วัดและประเมินผลการดำเนินการมีพื้นที่เพื่อสุขภาพ (Healthy space) กับผลลัพธ์ด้านสุขภาพ ที่จะครอบคลุมถึงดัชนี หรือ ตัวชี้วัดทางสุขภาพทางกาย สุขภาพทางจิตใจและอารมณ์ ตลอดจนสุขภาพทางสังคม เช่น การมีเครือข่ายทางสังคมด้านสุขภาพ เป็นต้น.
 
ผลผลิตของโครงการนี้ :
1. สื่อที่โครงการผลิต เช่น หนังสือ วารสาร บทความ แผ่นพับ Factsheet (พร้อม Digital Files) VCD DVD เสื้อ หมวก เข็มกลัด ฯลฯ จำนวน 20 ชุด พร้อม Digital Files 
2. รายงานผลการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ 1 ชุด พร้อม Digital Files นำส่งให้กับ สสส.