โครงการ การสร้างเสริมสุขภาวะเด็ก เยาวชน และครอบครัวเปราะบางในพื้นที่ชายแดนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

โครงการ การสร้างเสริมสุขภาวะเด็ก เยาวชน และครอบครัวเปราะบางในพื้นที่ชายแดนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

Project Period: October 2018 – March 2020
Project Status: กำลังดำเนินการ
Principal Investigator: Suchada Thaweesit


Researcher: Siriwan Asasri, Ladda Waiyawan


วัตถุประสงค์:

กิจกรรมภายใต้โครงการพัฒนาสุขภาวะเด็ก เยาวชนในครอบครัวชายแดน
หน่วยงานสนับสนุน: สสส. สำนัก  4
หน่วยงานรับผิดชอบด้านวิชาการ: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม ม. มหิดล
หน่วยงานปฏิบัติการในพื้นที่: มูลนิธิส่งเสริมสุขภาพและการแบ่งปัน
หัวหน้าโครงการ: ผศ. ดร. สุชาดา ทวีสิทธิ์
 
ช่วงปิดเทอม เด็กและเยาวชนมีเวลาว่างกัน เด็กในเมืองถ้าอยู่ในครอบครัวที่พ่อแม่มีตังส์หน่อยก็จะไปเรียนพิเศษ เรียนดนตรี เรียนว่ายน้ำ หรือเล่นกีฬาอย่างอื่น แต่สำหรับเด็กที่ขาดแคลนทั้งในเมืองและในชนบท พบว่าการจะใช้เวลาว่างในช่วงปิดเทอมเพื่อ ไปทำกิจกรรมที่ต้องใช้จ่ายเงินพ่อแม่เยอะ ๆ เป็นไปได้ยาก เด็กจำนวนมากถ้าไม่ไปทำงานหาเงินช่วยพ่อแม่ ก็จะใช้เวลาว่างไปกับการนอนเล่นเกม หรือไม่ก็รวมกลุ่มกันเองขี่มอเตอร์ไซด์ไปเที่ยวเล่นไกล ๆ หรือชวนกันเข้าแก๊งขับมอเตอร์ไซด์ซิ่ง หรือไม่ก็เล่นยา
 
ซึ่งในความเป็นจริง เด็กและเยาวชนเหล่านั้น ต้องการเข้าร่วมกิจกรรมที่สร้างสรรค์ และความสนใจทำกิจกรรมของพวกเขามีหลากหลายรูปแบบที่ต้องการให้รัฐและท้องถิ่นสนับสนุน ไม่ใช่เอะอะอะไรๆ ก็จัดแต่กิจกรรมเตะฟุตบอลต้านยาเสพติดให้ หรือไม่ก็บีบให้เด็กไปรำโชว์ เดินยกป้ายในขบวนเชิดชูวัฒนธรรมท้องถิ่นท่าเดียว มีเด็กจำนวนไม่มากนักที่อาจมีความสุขกับกิจกรรมประเภทนั้น ในขณะที่เด็กอีกจำนวนมากกลับสนใจกิจกรรมที่หลากหลายกว่านั้น แต่ท้องถิ่นไม่มีพื้นที่ ไม่จัดงบประมาณ และไม่จัดคนที่มีเวลามาร่วมคิด และคอยเป็นที่ปรึกษาให้กับพวกเขา
 
ในพื้นที่ชายแดนไทยลาว และไทยกัมพูชา จังหวัดอุบลราชธานี คือที่ตำบลสองคอน อำเภอโพธิ์ไทร และที่ตำบลโดมประดิษฐ์ อำเภอน้ำยืน กำลังริเริ่มสร้างพื้นที่กิจกรรมที่หลากหลาย และสอดคล้องกับความต้องการของเด็ก เยาวชน และผู้ปกครอง พวกเขาเสนอทำกิจกรรม เช่น เลี้ยงไก่ และเริ่มลงมือสร้างเล้าไก่กันเองและ กับผู้ปกครอง พวกเขาคิดกิจกรรมเก็บขยะในชุมชน กิจกรรมเดินป่าศึกษาทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่น กิจกรรมรับบริจาคเสื้อผ้ามือสองมาขายที่ตลาดนัดเพื่อระดมทุนซื้ออุปกรณ์กีฬาให้โรงเรียนของพวกเขาเอง
 
ทั้งหมดนี้คือการริเริ่มของเด็ก เยาวชน เพื่อให้เด็ก เยาวชน ได้ใช้เวลาว่างร่วมกับผู้ใหญ่ ลดเวลาอยู่หน้าจอมือถือ มาเห็นคุณค่า ตัวตน และให้ความหมายกับชีวิตของตัวเองที่แตกต่างไปจากเดิม 
 
รัฐมักมีนโยบายเรื่องเด็กและเยาวชนแบบตัดเสื้อไซด์เดียวให้ใส่กันทั้งประเทศ ทำให้งานพัฒนาเด็กและเยาวชน รวมทั้งงานพัฒนาครอบครัวเข้มแข็งในระดับท้องถิ่นอ่อนแอ ไม่เป็นชิ้นเป็นอัน ในขณะที่ท้องถิ่นเองก็ขาดเจ้าหน้าที่ที่มีมุมมองที่แจ่มชัดในเรื่องเหล่านี้ ถูกชี้นำโดยนโยบายจากส่วนกลาง อีกทั้งขาดประสบการณ์ทำงานกับเด็กและเยาวชนที่ลุ่มลึกและไม่หลากหลายพอ ดังนั้นเรายังต้องการองค์กรพัฒนาเอกชน และทีมวิชาการที่ต้องลงไปเสริมแรง พาทำ หนุนเสริม ทำให้ดูอีกทั่วประเทศทั้งในเมืองและในชนบท
 
ภาพประกอบ Photo by Artem Beliaikin from Pexels