โครงการวิจัยติดตามและประเมินผลการดำเนินการในรอบ 5 ปีแรก ตามแผนการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย พ.ศ. 2561-2573

โครงการวิจัยติดตามและประเมินผลการดำเนินการในรอบ 5 ปีแรก ตามแผนการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย พ.ศ. 2561-2573

Principal Investigator: Sureeporn Punpuing
Project Consultant: Aphichat Chamratrithirong
Researcher: Wathinee Boonchalaksi , Nucharapon Liangruenrom , Kanya Apipornchaisakul , Phongsak Muensakda

Project Period: January-July 2022

สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ดำเนินโครงการศึกษาบทบาทของภาคีเครือข่ายในการขับเคลื่อนแผนการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย พ.ศ. 2561-2573 เพื่อจัดทำข้อเสนอแนะสำหรับการดำเนินนโยบายสนับสนุนการขับเคลื่อนแผนการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย สนับสนุนข้อมูลด้านประสิทธิภาพและประสิทธิผล และช่องว่างในประเด็นต่างๆ ที่จำเป็น เพื่อให้สามารถนำไปใช้สำหรับวางแผนและกำหนดแนวทางขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การส่งเสริมกิจกรรมทางกายของประชากรไทยทุกกลุ่มวัยต่อไปต่อไป

วัตถุประสงค์

  1. สังเคราะห์เอกสารนโยบาย การดำเนินการมาตรการที่เกี่ยวข้องกับการขับเคลื่อนภาคีเครือข่ายของแผนการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
  2. ศึกษาบทบาทและการขับเคลื่อนของภาคีเครือข่ายตามแผนการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย พ.ศ. 2561-2573
  3. วิเคราะห์จุดเด่น ปัญหาและอุปสรรค โอกาสและความเสี่ยงของการดำเนินงานการขับเคลื่อนภาคีเครือข่ายตามแผนปฏิบัติการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย พ.ศ. 2561-2563 และ 2564-2565 เพื่อจัดทำข้อเสนอทิศทางของแผนปฏิบัติการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย ในระยะต่อไป คือ พ.ศ.2566 เป็นต้นไป
  4. จัดทำข้อเสนอแนะเพื่อขับเคลื่อนภาคีเครือข่ายของแผนส่งเสริมกิจกรรมทางกาย พ.ศ. 2561-2573

ระเบียบวิธีวิจัย

  1. การวิจัยเอกสาร เป็นการวิจัยเอกสารและข้อมูลทุติยภูมิที่เกี่ยวข้อง มีวัตถุประสงค์เพื่อทบทวนเอกสารนโยบายการดำเนินการ มาตรการ (ทั้งนโยบาย และโครงการ) ที่เกี่ยวข้องตามแผนการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย และ
  2. การวิจัยภาคสนาม การวิจัยภาคสนามนี้ เก็บข้อมูลข้อมูลเชิงคุณภาพเป็นหลัก ด้วยการสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion) การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview) กับส่วนงานกำหนดนโยบาย และหน่วยงานในพื้นที่ที่รับผิดชอบการนำแผนฯไปสู่การปฏิบัติ โดยเก็บข้อมูลใน 5 พื้นที่การศึกษา

กลุ่มเป้าหมาย

  1. หน่วยงานหลัก: กองกิจกรรมทางกายเพื่อสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข และ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
  2. หน่วยงานสนับสนุน: ตาม MOU ระหว่างกระทรวงสาธารณสุข กับ หน่วยงานต่างๆ เช่น กระทรวงศึกษาธิการ การท่องเที่ยวและกีฬา แรงงาน มหาดไทย คมนาคม การพัฒนาสังคมและความมั่นคง ของมนุษย์ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
  3. ภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย นิยามจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตาม ยุทธศาสตร์ ได้แก่ ภาคส่วนกีฬา ผังเมืองและคมนาคม การศึกษา สิ่งแวดล้อม องค์กรปกครองระดับท้องถิ่น ทั้งหน่วยงานภาครัฐ ภาควิชาการ และภาคประชาสังคม

ผลลัพธ์

  1. ทราบข้อมูลและผลการดำเนินงาน รวมถึงผลการประเมินแผนปฏิบัติการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย พ.ศ. 2561-2563 และการประเมินแผนการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย พ.ศ. 2561-2573
  2. ข้อมูลที่ไต้จากการศึกษาวิเคราะห์และสังเคราะห์ จะเป็นแนวทางในการจัดทำแผนปฏิบัติการ ส่งเสริมกิจกรรมทางกาย พ.ศ. 2564-2565 และการปรับแผนการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย พ.ศ. 2561-2573