สังคมศาสตร์ไทยในวิกฤตโควิด 19: การ(ไม่)มีบทบาทและความสำคัญ

การระบาดของโควิด 19 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่นเดียวกับที่เกิดขึ้นในทุกภูมิภาคทั่วโลก ได้เผยให้เห็นความเกี่ยวเนื่องกันระหว่างกระบวนการทางชีววิทยา เศรษฐกิจและสังคม อีกทั้งยังแสดงให้เห็นถึงนัยยะเรื่องความเหลื่อมล้ำด้านเศรษฐกิจ สังคมและสุขภาพ รวมไปถึงมิติทางการเมืองในเรื่องของสุขภาพและการสาธารณสุข เป็นที่แน่ชัดอยู่แล้วว่าโรคระบาดโควิดในครั้งนี้เกิดจากเชื้อไวรัส แต่เพื่อที่จะเข้าใจ ควบคุม และลดผลกระทบของการระบาด เราต้องพึ่งพาองค์ความรู้ทางด้านสังคมศาสตร์และการใช้องค์ความรู้ดังกล่าวในการแก้ไขปัญหา ซึ่งทำให้เกิดคำถามที่ว่า องค์ความรู้และนักวิชาการด้านสังคมศาสตร์ได้มีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาหลากมิติอันเป็นผลมาจากวิกฤติโควิด 19 ในภูมิภาคนี้มากน้อยเพียงใด? เพื่อที่จะสะท้อนถึงคำถามนี้ 
 
SEA Junction ร่วมกับ Asia Research Center at the University of Indonesia (ARC-UI) และ Global Development Network (GDN) จัดเวทีเสวนาผ่านช่องทางออนไลน์ ในวันศุกร์ที่ 19 พฤศจิกายน 2564 เวลา 17:00-18:30 น. ดำเนินรายการเป็นภาษาไทย
 
ผู้ดำเนินรายการ/ผู้ร่วมเสวนา
  • ดร. จิราพร เหล่าเจริญวงศ์ อาจารย์ประจำภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะรัฐศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ผู้ร่วมเสวนา
  • ดร. โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์ ผู้อำนวยการศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  • ดร. นฤมล ทับจุมพล ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยการย้ายถิ่นแห่งเอเชีย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • วินิสสา ขัตติยะอารี นักวิจัย SEA Junction และนิสิตหลักสูตร MAIDS จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ติดตามชมย้อนหลังได้ที่ : https://www.facebook.com/SEA-Junction-470374673153248