ประชุมวิชาการระดับชาติประจำปี ครั้งที่ 16 ประชากรและสังคม 2565

สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล จัดประชุมวิชาการระดับชาติประจำปี ครั้งที่ 16 “ประชากรและสังคม 2565” ในวันศุกร์ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2565 ภายใต้หัวเรื่อง “โควิด-19: การฟื้นตัวและโอกาสของประชากรและสังคม (COVID-19: Resilience and Opportunity of Population and Society)” ในรูปแบบ hybrid conference ณ ห้องประชาสังคมอุดมพัฒน์ (101) ชั้น 1 อาคารประชาสังคมอุดมพัฒน์ มหาวิทยาลัยมหิดล และผ่านโปรแกรม Zoom Meeting โดยมีนักวิชาการ นักวิจัย นักศึกษา ผู้แทนภาคประชาสังคมและหน่วยงานกำหนดนโยบายในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยด้านประชากรและสังคมเข้าร่วมกว่า 350 คน การประชุมวิชาการในครั้งนี้ ได้รับเกียรติจาก ศ.นพ.บรรจง มไหสวริยะ อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวเปิดการประชุม รศ.ดร.อารี จำปากลาย ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยประชากรและสังคม กล่าวต้อนรับและกล่าวรายงาน

การประชุมเริ่มต้นด้วยเวทีเสวนาโดยวิทยากรรับเชิญซึ่งเป็นผู้แทนหน่วยงานการวิจัยระดับชาติ ในหัวข้อ “จุดเน้นการวิจัยด้านประชากรและสังคมหลังโควิด-19” ประกอบด้วย ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ดร.ประกาศิต กายะสิทธิ์ รองผู้จัดการสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ดร.ภูมิศรัณย์ ทองเลี่ยมนาค รักษาการผู้อำนวยการสถาบันวิจัยเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) และ ผศ.ดร.แพร ศิริศักดิ์ดำเกิง สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) โดยในเวทีเป็นการเสวนาแลกเปลี่ยนมุมมอง และความคิดเห็นต่อ “ทิศทาง” “จุดเน้น” หรือ “ประเด็น” งานวิจัยด้านประชากร สังคมและสุขภาพ ที่ควรให้ความสำคัญ มีความจำเป็น และน่าสนใจสำหรับสังคมไทยในระยะต่อจากนี้ที่โควิด-19 กำลังจะกลายเป็นโรคประจำถิ่น

ช่วงถัดมาเป็นการนำเสนอผลงานวิจัยโดยคณาจารย์และนักวิจัยของสถาบันฯ จำนวน 6 หัวข้อจาก 6 กลุ่มงานวิจัย ประกอบด้วย

  1. ผลกระทบจากโควิด-19 ต่อการเปลี่ยนแปลงทางประชากรและสังคมไทย นำเสนอโดย ศ.ดร.ปัทมา ว่าพัฒนวงศ์ รศ.ดร.ภูเบศร์ สมุทรจักร Lect. Dr.Dyah Anantalia Widyastari และ ผศ.ดร.กนกวรรณ ธราวรรณ
  2. มิติเพศ: มุมมองจากงานวิจัยในช่วงสถานการณ์โควิด-19 นำเสนอโดย ว่าที่ร้อยตรี นิพนธ์ ดาราวุฒิมาปกรณ์ คุณณภัทร ครุฑไทย คุณพงษ์ศักดิ์ สภุลทักษิณ และ ผศ.ดร.ดุสิต พึ่งสำราญ
  3. ความเป็นธรรมกับสังคมสูงวัยไทยในยุคโควิด-19 นำเสนอโดย รศ.ดร.นพ.ตะวันชัย จิรประมุขพิทักษ์ รศ.ดร.ศุทธิดา ชวนวัน รศ.ดร.จงจิตต์ ฤทธิรงค์ Lect. Dr.Truc Ngoc Hoang Dang และ อ.ดร.ณปภัช สัจนวกุล
  4. นโยบายการย้ายถิ่นเพื่อทดแทนประชากร นำเสนอโดย ศ.เกียรติคุณ ดร.อภิชาติ จำรัสฤทธิรงค์ รศ.ดร.เฉลิมพล แจ่มจันทร์ รศ.ดร.สุรีย์พร พันพึ่ง รศ.ดร.สุดารัตน์ มุสิกะวงศ์ และ ผศ.ดร.สักกรินทร์ นิยมศิลป์
  5. กิน อยู่ ขยับร่างกาย: ชีวิตวิถีใหม่ในยุคโควิด-19 นำเสนอโดย อ.ดร.บุรเทพ โชคธนานุกูล รศ.ดร.ปิยวัฒน์ เกตุวงศา คุณณัฐจีรา ทองเจริญชูพงศ์ และ อ.ดร.สรัญญา สุจริตพงศ์
  6. การปรับตัวในระเบียบวิธีวิจัยด้านสังคมศาสตร์ในยุคโควิด-19 นำเสนอโดย รศ.ดร.มนสิการ กาญจนะจิตรา คุณดนุสรณ์ โพธารินทร์ Lect. Dr.Truc Ngoc Hoang Dang และ ผศ.ดร.พจนา หันจางสิทธิ์

ผู้สนใจสามารถติดตามรับชมย้อนหลังได้ที่ Facebook Live IPSRMAHIDOLUNIVERSITY
ช่วงเช้า https://fb.watch/d_lcBwoyuh/
ช่วงบ่าย https://fb.watch/d_lhOUHwA9/